วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาพความประทับใจ แห่ดาว สกลนคร 2555

เก็บภาพมาเล่าเก็บข่าวมาฝากช่วงเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส 2555 กับความรุ่มรวย
ทางอารยธรรมที่สืบต่อกันมาของพี่น้องชาวคริสต์ ในชุมชนท่าแร่ และอีกหลายๆชุมชนใน เขต สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์



ผู้คนมากมายจากหลายจังหวัดมาร่วมเฉลิมฉลอง....ทีมงาน ททท.สำนักงานนครพนม ต้อนรับอย่างเต็มที่  นำทีม ดดยท่าน ผอ.บุณญานุช วรรณยิ่ง ผอ.ททท.นครพนม




เที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




ขอบคุณ คุณนภาพร โพนตุแสง (เอื้อเฟื้อเป็นนางแบบ ครับ)

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหกรรมปลา แม่น้ำสงคราม 2555

เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน
ททท.สำนักงานนครพนม ขอเชิญเที่ยวงาน
มหกรรมปลา แม่น้ำสงคราม วันที่ 15-19 ธันวาคม 2555 
ณ สนามหน้าที่ว่าการ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนคนกับน้ำ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆมากมาย 
ข้อมูลเพิ่มเติม 042-513490-1

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลอยกระทง นครพนม 2555


โตโต้โสนแย้ม ได้มีโอกาศไปเก็บภาพ บรรยากาศในงานวันลอยกระทง ที่ เมืองนครพนม มาครับ..บรรยากาศก็เรียบง่ายตามแบบฉบับเมืองพุทธ ครับ...การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณียังคงเป็นไปตามแบบชาวนครพนม ครับ..มีกิจกรรมการประกวดนางนพมาศ รำวงย้อนยุค การขายสินค้าที่ลานคนเดิน  ท่องเที่ยวแบบสัมผัสธรรมชาติและออกซิเจน ริมฝั่งโขงเมืองนครพนม ครับ....

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ท่องเที่ยวไป ใน อำเภอนาแก จ.นครพนม


หลังจากที่ ช่วยงานแต่งงานของเพื่อนที่ อ.นาแก เรียบร้อยแล้ว โตโต้โสนแย้ม+ตุ๊ต๊ะต๋อมแต๋ม            บอย+ปลาปิ้ง ซึ่งเป็นเพื่อน อญุ่ที่ อ.เขาวงด้วยกัน  ทานอาหารเช้าที่ ร้านเกาเหลานาแก อย่างแซบ จากนั้นพวกเราก็ได้ไปออมบุญกันที่ นี่ครับ...

พระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันอังคาร
ประดิษฐานที่วัดธาตุศรีคุณ อ.นาแก ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ ของพระโมคลานะ พระสารีบุตร และพระสังกัจจายนะ เชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้ จะได้รับอานิสงส์ให้มีศักดิ์ศรีทวีคูณ
                                                                                                                                                           สิ่งของบูชาพระธาตุ  ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป 8 ดอก เทียน 2 เล่ม
















































โดย โตโต้โสนแย้มพาเที่ยวจ้า



จากนั้น เพื่อน บอยและปลาปิ้ง ก็เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ผมกะคุณตุ๊ต๊ะต๋อมแต๋ม ก็เดินทางขึ้นเขา 6 กม.จาก ตัวอำเภอนาแก เพื่อไปสัมผัสอากาศบริสุทธิ และนมัสการพระธาตุประจำวันเกิดจำลอง 7 พระธาตุที่ ดานสาวคอย วัดภูพานอุดมธรรม ครับ
ถึงแล้วครับ..ที่นี่ ดานสาวคอย..ที่ตั้งวัดภูพานอุดมธรรม  วิวสวยงามครับ นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจครับ  ไปกันเลยครับ























































โตโต้โสนแย้ม..ขอพักเหนื่อยก่อน ครับ...


วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภูผาพิศวง

ในบทความเรื่องราวต่อไปนี้กระผมจะได้พาท่านผู้ชมไปท่องเที่ยวที่ ดินแดนที่เรียกว่า
ดินแดนแห่งภูผาพิศวง ครับ..ที่นี่มีทั้งดอกไม้ป่านานาพันธ์ และควาสสวยงามของกลุ่มหิน
นับร้อยที่เรียงรายกลางลสนหิน ที่นี่ ภูผาเทิบ ครับ ทริปนี้ได้ทำงานร่วมกับ พี่ๆ กองผลิต ครับ
ที่เดินทางมาถ่ายภาพปฎิทิน ททท.ครับ





โตโต้โสนแย้ม รายงานครับ

ท่องเที่ยวเชิงผจลภัย และอนุรักษ์

ทริปนี้ ไม่ได้ไปเที่ยวไกลเท่าไหร่นักครับ ท่านผู้ชม ไปเที่ยวแค่ ภูลังกานครพนม นี่เอง ทริปนี้เดินทางไปพร้อมกับ พี่ อรรถ คมฉาน ตะวันฉาย จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจครับ
ออกเดินทางจาก ที่ทำงาน แถวๆริมโขงเมืองนครพนม พาพี่คมฉานแวะไปชม สะพานมิตรภาพ3 นครพนม คำม่วนครับ...ไปเบิ่ง ครอบครัว น้อง       ชอช้าง..ศิลปการก่อสร้างอาคารแบบล้านช้าง..และเก็บภาพ ขัวไทย-ลาว 3 ไว้ในกล้องแคนนอนตัวโปรดครับ...ป่ะๆ ไปเบิ่งนำกัน..

ไม่น่าเชื่อว่ายังมีช้างเผือกเหลืออยู่ในโลกน้อ แต่ ต้องเขื่องครับ ว่าที่นี่ สะพานมิตรภาพ 3 นครพนม คำม่วนนั้น มีจริงๆ ครับ...




อาคารศุลกากร งามเหลือล้นจนมองแล้วอยากมานอนพักซัก 2 คืน 5555 อันนี้ไม่ใช่ที่นอนนะครับ เป็น อาคารสำนักงาน ของทางราชการครับ












ช่องจราจร 2 ช่อง ต้องดูให้แน่ใจว่า ไปหรือกลับ เด้อ













เก็บภาพสะพาน กะพี่ คมฉาน แล้ว ก็ไป ที่ ร้านขาย หมากนัด แวะนมัสการ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุจำวันเกิดของที่ผู้ที่เกิดวัน ศุกร์  แล้วบุกไปต่อที่ แม่น้ำสองสี












นายแบบ คุณคมฉาน ตะวันฉาย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ครับ...

หมากนัดที่ ท่าอุเทน หวานหอมกรอบได้ใจ พี่คมฉานจริงๆ ครับ โตโต้โสนแย้ม กะพี่ คมฉาน หม่ำกันสนุกสนาน กับ หมากนัด ท่าอุเทนครับ

แม่น้ำสองสี (แม่น้ำสงคราม กะ แม่น้ำโขง)ครับ ที่บ้านไชยบุรี เมืองเก่าแต่โบราณเล่นขานว่าเคยเป็นหัวเมืองใหญ่ในครั้งอดีต...









ตลาด ไทย-ลาว ที่ท่าอุเทนเขา มีกันวัน จันทร์ กะ พฤหัสครับ...เบิ่งวิถีคนไทย คนลาว บ้านพี่เมืองน้อง ม่วนซื่นโฮแซว ครับ...












โตโต้โสนแย้มถ่ายภาพครับ

นมัสการพระธาตุท่าอุเทน ซึ่งเป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวท่าอุเทนครับ...เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู่ที่เกิดวันศุกร์ด้วย เชื่อกันว่า ท่าใดที่ได้มานมัสการจะพบแต่ความสุขความเจริญทั้งชีวิต หน้าที่การงาน ครับ...

























จากนั้น ก็จะไปดูรอย รอย รอย.รอยตีนไดโนเสาร์ ครับ...ดูท่าไดโนเสาร์ที่นี่ จะเหงาๆ ครับ เพราะว่า ไดโนเสาร์ส่วนใหญ่อยู่ที่ข้างทางหมายเลข 212 กันหมด อิอิ...ว่ากันไป เน้อ.....
จากนั้นเอ้อ...ลืมไป หวข้าวกันแล้ว รีบขับรถตามแนวถนน ไปที่ อำเถอบ้านแพงหาที่ฝากท้อง กันครับ..






วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลับมาแล้วครับ...

*******ห่่างหายไปจากสื่่อออนไลน์ไปนานครับ กลับมาแล้ว ครับ  มาพร้อมภาพแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆมากมายครับ  งั้นเรามาชมภาพกันเลยนะครับ  ล่าสุดไปทำบุญครับ.. ชื่องาน ปั่นฝ้ายสายบุญจุลกฐิน เยือนถิ่นผู้ไทยที่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ครับ.2-4 พ.ย.55 ที่ผ่านมา..เดินทาง ไปตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 55 ครับ ขับรถตามทางหลวงหมายเลข 212 เรื่อยๆ 100 กิโลเมตร ถึงเมืองมุกดาหาร จากนั้น เลี้ยงซ้านไปทาง เขมราฐ 30 กม ถึง อ.ดอนตาล ผ่าน หอแก้ว ภูผาเทิบ ขับรถเนิบๆ ไป จนถึงวัดมัชฌิมาวาส ชทกลองมโหระทึก แล้ว ค่อยไปลอยเรือไฟโปบราณ และสัมผัวกับตึนาน รำวงย้อนยุค จาก สาวเหลือน้อย จากคุณ แม่ คุณยาย จาก ดอนตาลครับ
โตโต้โสนแย้มกำลังเป็นผู้ดำเนินรายการ ท่องเที่ยว ครับ


น้องๆ จากบ้านดอนตาล..น่ารักน่าชัง เนาะ...






กระทงสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าเรื่องร้ายๆ ไปกับสายน้ำ...


สุดยอดหมอยาสมุนไพร จากเมืองดอนตาล กระผมเล่นซดน้ำฮากไม่ทั้งคืน..สดชื่นเหลือเกินครับ


แจ่ว...1 ในเครื่องประกอบในกระทงสะเดาะเคราะห์..หรือภาษาภูไท เรียกว่า..เสียเคราะห์.....ครับ



ขันหมาดเบ็ง...เครื่องบูขาพระ นำมาเรียงร้อยน้อยใหญ่สวยงามจับฝจ ชวนให้อยากทำบุญ...คร๊าบ..

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555


นางพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ นายวิชุกร กุหลาบศรี ผอ.ททท.นครพนม นำทัพผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ส่งเสริมการขายเชื่อมโยงตลาดเวียเนาม ที่มุกดาหารในงาน Table Top Sales
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕  ณ ห้องดุสิตา โรงแรมมุกดาหารแกรนด์ จ.มุกดาหาร

  โดยมีคุณ เหงียน ก๊วก ทัน  รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม   คุณธงชัย ลืออดุลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร    คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คุณศักดา พิริยะกิจไพบูลย์  ประธานสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย   คุณทรงศักดิ์ ศรีเคลือบ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  คุณอาชว์ ตั้งประกิจ  ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวภาคอีสาน   ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวเวียดนาม   สื่อมวลชน   ผู้ร่วมเดินทาง และแขกผู้มีเกียรติภายในงาน ซึ่ง ผอ.ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับ และยังได้กล่าวถึงบรรยากาศการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อุดมไปด้วยทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีความงดงามหลากหลาย และโดดเด่น  ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ ผืนป่าดิบเขียวชอุ่ม  แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีโบราณ  ปราสาทหิน  ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมประเพณี     อันเป็นเอกลักษณ์มีเสน่ห์    การมาเยือนภาคอีสานที่มีภูมิประเทศที่สวยงามแปลกตา  มาเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี  พบปะพูดคุยกับคนท้องถิ่น สามารถเป็นประสบการณ์ชีวิตที่สร้างความเพลิดเพลิน ความสนุกสนานและความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อย่างดี  

ประเทศเวียดนาม และไทย มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมายาวนาน ใกล้ชิดกันทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้คือ หมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนาม  ที่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม อีกทั้ง        2 ประเทศ เชื่อมโยงความร่วมมือกันอีกหลายด้าน อาทิ เครือข่ายเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงไทย-เวียดนาม เส้นทางหมายเลข 9 ตามโครงการ EWEC จากมุกดาหาร     ไปสะหวันนะเขตถึงเมืองเว้   เส้นทางหมายเลข 8 จากจังหวัดนครพนม ผ่านแขวง       คำม่วนไปยังเมืองวินห์ในเวียดนาม ซึ่งเส้นทางหลักดังกล่าวจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนของไทย – เวียดนาม  ในการติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างเพื่อนบ้านให้สะดวก   มากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้นไทยกับเวียดนามยังเกี่ยวโยงกันด้วยกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค และระดับ นานาชาติต่างๆ ที่เป็นบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์รากฐานที่มั่นคงขึ้น และพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ไปด้วยกันอย่างเข้มแข็ง

การจัดงานเจรจาธุรกิจการขายด้านการท่องเที่ยวครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน  ททท.  เครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริษัท ฟูจิทัวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งหมดนี้ ในการนำคณะผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจากเวียดนาม และคณะสื่อมวลชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการชาวไทย กว่า 200 คน  มาพบปะทำความรู้จักซึ่งกันและกัน กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคอีสาน กว่า 30 ราย ซึ่งจะเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการท่องเที่ยว และเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง ตลอดจนเกิดการรับรู้สินค้าทางการท่องเที่ยว    ในพื้นที่ ที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของภาคอีสาน ทั้งมวล รวมทั้งความสมบูรณ์แบบในการต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเยือน    

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอขอบคุณ จังหวัดมุกดาหาร เครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท ฟูจิทัวร์ (ประเทศไทย) จำกัด คณะผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งจากเวียดนาม และชาวไทย สื่อมวลชน นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ร่วมมือผนึกกำลังทำให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวอันดีในครั้งนี้  ที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวทั้งไทยและเวียดนาม ที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558  และ ททท. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดร่วมกับทุกหน่วยงานในทุกโอกาสต่อไป
อัครเดชา ฮวดคันทะ รายงาน

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตำนานชาวภูไท



ตำนานชาวภูไท
ชาวภูไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากภูไทในภาคเหนือของลาว และญวน กลุ่มภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดอาจจะอยู่แถบลุ่มน้ำโขง และแถบเทือกเขาภูพาน เช่นจังหวัดนครพนม ได้แก่อำเภอคำชะอี ธาตุพนม เรณูนคร นาแก จังหวัดสกลนครได้แก่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง สหัสขันธ์ ส่วนภูไทผู้เข้าสู่ภาคกลางในจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ในย่านนั้นเรียกว่า ลาวโซ่ง

เผ่าภูไท เป็นคนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และอาณาจักรล้านช้าง การเคลื่อนย้ายของชาวภูไท เข้าสู่ภาคอีสานมีหลายครั้ง และมาจากที่ต่างๆ จึงทำให้กลุ่มภูไทที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดสกลนคร เรียกชื่อตัวเองตามแหล่งเมืองเดิมของตนเช่น ผู้ไทวัง คือ ผู้ไทที่อพยพมาจากเวงวัง มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบอำเภอพรรณานิคม
ผู้ไทกระป๋อง คือภูไทที่อพยพมาจากเมืองกะปอง มาตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอวาริชภูมิ ผู้ไทกะตาก คือผู้ไทที่อพยพมาจากเมืองกะตาก มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตำบลโนนหอม และแถบริมหนองหาร ทางทิศใต้

ชาวภูไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า นายฮ้อยเผ่าภูไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดี กริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง

เผ่าภูไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ย้อมครามเกือบสีดำ เรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม

วัฒนธรรมประเพณี เผ่าภูไท มีเอกลักษณ์เป็นจุดเด่นหลายประเภท เช่น การแต่งทำนองดนตรี เรียกว่า ลายเป็นเพลงของภูไทมีบ้านแบบภูไทคือ มีป่องเอี้ยม เป็นช่องลม มีประตูป่อง หน้าต่างยาวจรดพื้น มีห้องภายในเรือนเป็นห้องๆ ที่เรียกว่า ห้องส่วม’  นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมการทอผ้าห่มผืนเล็กๆ ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาวใช้คลุมไหล่ เรียกว่า ผ้าจ่อง นอกจากนี้แล้วยังมีผ้าแพรวา ใช้ห่มเป็นสไบ ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีผ้าลาย ใช้เป็นผ้ากั้นห้องหรือห่มแทนเสื้อกันหนาวได้ ซึ่งมีแหล่งใหญ่อยู่บ้านนางอย อำเภอเตางอย จังหวัดสกลนคร ประเพณีที่สำคัญของเผ่าภูไทซึ่งถือกันแต่โบราณ ได้แก่ การลงข่วง พิธีแต่งงาน การทำมาหากิน การถือผี และการเลี้ยงผีในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ

1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า ?ภูไทขาว?
2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ?ภูไทดำ?ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น ?สิบสองจุไทย?เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย

การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ
ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
ระลอกที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก
ระลอกที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้นชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้
กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้านอำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)
กลุ่มที่ 8 อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จากปลายด้ามขวานสู่อีสานบ้านเฮา


ททท.นครพนม ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขาย Amazing  I-san Road Show
จากปลายด้ามขวาน สู่อีสานบ้านเฮา”  14-20 พ.ค.55 นครศรีธรรมราช หาดใหญ่
เมื่อเวลา 16.30 น.- 21.00 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม  2555   นายวิชุกร  กุหลาบศรี ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สำนักงานนครพนม ได้นำผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร)กว่า 30 คน  เข้าร่วมการเจรจาการค้า (Table Top Sale) ณ ห้องบงกชรัชต์ 3 โรงแรมเดอะทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช  ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คุณพัฒน์มาศ  วงศ์พัฒนศิริ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท. ประธานการจัดงาน ได้กล่าวสรุปสินค้าการท่องเที่ยวภาคอีสาน พร้อมทั้งนำชม วิดิทัศน์ สินค้า / เส้นทางการท่องเที่ยวภาคอีสาน แหล่งเรียนรู้อู่อารยธรรม และในเวลาต่อมาได้กล่าวต้อนรับ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานในพิธี  และได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานพร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้แก่ประธานในพิธีฯ ภายในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน จากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ และมีการจับรางวัลต่างๆมากมาย ซึ่งทำให้ผู้ร่วมงานกว่า 400 คนได้รับความสนุกสนานและได้เจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และประชาชนผู้สนใจ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นปย่างมาก  และคาดว่าในวันที่ 17 พ.ค.55 ซึ่งจะได้จัดกิจกรรมดังกล่าว ที่ โรงแรม ลีการ์เด้นพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งผู้ประกอบการฯและประชาชนนทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

อัครเดชา ฮวดคันทะ
ททท.นครพนม รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

ผอ.ททท.นครพนม ร่วมงานผู้ไทยโลก

เมื่อเวลา 18.00 น.ของวันที่ 12 เมษายน 2555 นายวิชุกร กุหลาบศรี ผอ.ททท.สำนักงานนครพนม พร้อมด้วย คุณ ปรมินทร์ ผจก.ฝ่ายขาย โรงแรมวิวโขง และตัวเแทนจากสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม ร่วมงาน  วันผู้ไทโลก และงานสุขสันติวันใหม่ผู้ไทเยือนถิ่น ที่อ.เรณูนคร จ.นครพนม โดยในงานดังกล่าว ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิเช่น การออกร้านแสดงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวผู้ไท อ.เรณูนคร อาทิเช่น การแสดงรำวงย้อนยุค การลงข่วงเข็ญฝ้าย การร้องรำบทเพลงผู้ไทย โดยมีทั้งฝ่ายชายแหละหยฺงร้องรำทำเพลงโต้ตอบกันสนุกสนาน การแสดงการรำบูชาผี เป็นต้น ในส่วนของเวทีพาข้าวแลงนั้นก็ประกอบไปด้วยการแสดงที่ยิ่งใหญ่อลังการจากผู้ไททั่วสารทิศ เป็นต้นว่าจาก กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร สปป.ลาว.ฯ  ผอ.ททท.นครพนม เปิดเผยว่า วันนี้นอกจากมีการเปิดถนนวัฒนธรรมแล้วยังมีการแสดงถนนอาหาร อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลเจ้าปู่ถลา

ศาลเจ้าปู่ถลา ตั้งอยู่ท้ายเมืองเรณูทางทิศตะวันตก ห่างจากวัดปัจฉิมาวาสประมาณ 200 เมตร ชาวผู้ไทยเรณูนครจะพร้อมใจกันเซ่นไหว้ปีละ 1 ครั้ง ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้มี ช้าง(เหล้าไห) ม้า(สุรา) อาหราจะต้องนำวัวเป็น ๆ ไปเชือดที่บริเวณศาลเจ้าปู่ถลาแล้วทำ "ลาบเลือด" ซึ่งเป็นของโปรดสำหรับเจ้าปู่และแกงเนื้อวัว การเซ่นไหว้เจ้าปู่ถลา ลูกหลานชาวเรณูเรียกว่า "แก้บะ" เมื่อลูกหลานชาวผู้ไทยเรณูนครบนหรือฮ้องเจ้าปู่ช่วยทุกครั้งจะต้องแก้บน การแก้บน(แก้บะ) ใช้อาหารสองอย่าง คือ พาข้าวแดงพาแกงร้อน และวัวเป็นตัวตามที่ผู้บนได้บอกเจ้าปู่ไว้ หากลูกหลานผู้ใดละเลยผู้บนจะได้รับภัยพิบัติทั้งแก่ตนเองและบุตรหลานทันที อาหารที่เหลือจากเจ้าปู่ เมื่อเจ้าปู่อิ่มแล้ว ลูกหลานสามาร