วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ท่องเที่ยววิถีไทย เข้าใจวิถีพุทธ

วันนี้ ผม จะพาทุกท่าน ท่องเที่ยวแบบUnseen ที่ อีสาน สกลนคร นี่เอง ครับ...ที่นี่ได้รวมเอาปฏิมากรรมการแกะสลักหินที่งดงาม จากฝีมือช่างชาว บ้านนากระเดา อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งปฏิมากรรมดังกล่าว สามารถสัมผัสกันได้ที่ วัดภูผาแด่น..สกลนคร นี่เอง คัรบ..
 
























ภาพ โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หมีแพนด้า(WWF ) จับมือนครพนม ร่วม อนุรักษ์แม่น้ำสงคราม



WWF-ประเทศไทย จับมือ ธนาคารเอชเอสบีซีร่วมพฒั นาพน ื้ ที่ชุ่มน ้าในจังหวัดนครพนม ด้วยแนวคิด “พน ื้ ที่ชุ่มน ้า คอ ื ชีวติ” มุ่งยกระดับชีวติและความเป็นอยู่ อย่างยั่งยืนแก่ชาวอีสาน ในงานวันพื้น ที่ชุ่ม
น้ำโลก ประจำ ปี2558

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา WWF-ประเทศไทย (กองทุนสัตว์ป่าโลก) ร่วมกับธนาคารเอชเอสบีซี และจังหวัดนครพนมจัดงานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกประจำปี 2558 ณ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ภายใต้ธีมงาน “แม่น้ำสงคราม...ป่าบุ่งป่าทาม...มั่นยืนชั่วกาลนาน” เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในระดับนานาชาติของพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณแม่น้ำสงครามตอนล่างให้แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไป จากการเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของพืชสัตว์น้ำเกือบ 200  ชนิด และเป็นแหล่งรายได้สำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชน










ภายในงาน ผู้ร่วมงานกว่า 1,500 คนได้ร่วมทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำสงครามและบายศรีสู่ขวัญ ปล่อยพันธุ์ปลาคืนสู่ธรรมชาติ แข่งขันทำอาหารพื้นบ้าน และแข่งขันกีฬาพื้นบ้านหลายหลายชนิดเช่น มวยแม่น้ำ ส้มตำลีลา หว่านแหบก สร้างความสนุกสนานและความสามัคคีระหว่างชุมชนเป็นอย่างมาก จึงบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจกรรมครั้งนี้ในการส่งเสริมให้จังหวัดนครพนม  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วนจ ได้ร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์และคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ

 “พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง มีประโยชน์หลากหลายต่อระบบนิเวศวิทยาที่เอื้อต่อความอุดมสมบูรณ์ มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อภาคการเกษตร การปศุสัตว์ การคมนาคม การท่องเที่ยว การศึกษาวิจัย วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น แม้กระทั่งพันธุ์สัตว์น้ำที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ปลาบึก ก็มาวางไข่และพบในแม่น้ำสายนี้ ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ชุมชนสามารถดูแล รัก และหวงแหนพื้นที่นี้ได้เอง จึงเป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เราจึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าว” นายรัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำตอนล่าง WWF-ประเทศไทย กล่าว

 
พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติแห่งเดียวของจังหวัดนครพนม มาตั้งแต่ปี 2543 และยังมีความสำคัญต่อการประมง เนื่องจากมีระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง ทำให้มีพันธุ์ปลาเป็นจำนวนมากอพยพเข้ามาอาศัย วางไข่ เพาะขยายพันธุ์ ในวันนี้รู้สึกดีใจที่จังหวัดนครพนมได้ร่วมเป็นกลไกร่วมกับหน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้องและโครงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง WWF-ประเทศไทย เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ พัฒนาศักยภาพของชุมชน พัฒนาระบบนิเวศ ให้มีความอุดมสมบูรณ์และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนายสมชาย วิทย์ดำรงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าว

ธนาคารเอชเอสบีซี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับองค์กร WWF ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนและสร้างสมดุลของสภาพแวดล้อม จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว  เอชเอสบีซีจึงได้ให้ความสนับสนุนทางการเงินจำนวน 980,000 เหรียญสหรัฐ หรือมูลค่ากว่า 30 ล้านบาทแก่ WWF เป็นเวลากว่า 2 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557-2559 เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง ณ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของสัตว์น้ำกว่า 170 ชนิด และเป็นแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่ถึง 140,000 คน โดยความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของเอชเอสบีซีที่มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำร่วมกับ WWF ในโครงการที่ผ่านมา นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจ ดังนั้น จึงได้พัฒนาขยายพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มเติม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง และกิจกรรมวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในวงกว้าง และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตรและยั่งยืนนางวรนันท์ สุทธปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าว

คนทั่วไปอาจจะมองเห็นน้ำเป็นแค่น้ำ แต่วันนี้เราได้เห็นแล้วว่า สำหรับชุมชนที่อยู่ติดน้ำพวกเขาคิดว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แท้จริงแล้วความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำจืดมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของทุกๆชีวิต ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในป่า ริมน้ำหรือแม้กระทั่งในเมือง ความอุดมสมบูรณ์ของพวกเขาก็คือความอุดมสมบูรณ์ของพวกเราเช่นเดียวกัน  การอนุรักษ์และความเข้าใจในพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเราทุกคนจะต้องใส่ใจร่วมกัน ไม่ใช่แต่เฉพาะชุมชนเพียงอย่างเดียวนางสาวเยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการ WWF-ประเทศไทย กล่าวสรุป
*****************************
เกี่ยวกับ พื้นที่ชุ่มน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึง ที่ชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำ ไม่เกิน 6 เมตร

พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง เป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จากการสำรวจโดยกรมประมง ระหว่างปี พ.ศ.2544-2546 พบปลาน้ำจืดทั้งหมด 192 ชนิด 39 วงศ์ ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ปลาบึก ปลาหมากผาง และมีระบบนิเวศย่อย 24 ระบบ มีพรรณพืชในป่าทามที่ใช้ประโยชน์กว่า 208 ชนิด และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งผสมพันธุ์ และทำรัง วางไข่ของสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาหลายชนิดจากแม่น้ำโขงอพยพมาผสมพันธุ์และวางไข่ จึงเกิดเป็นแหล่งอนุบาลลูกปลา ก่อนที่จะออกไปเจริญเติบโตในแม่น้ำโขง 



ปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศทั้งหมด 14 แห่ง เฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ จำนวน 1 แห่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คืออำเภอนาหว้า อำเภอนาทม อำเภอศรีสงครามและอำเภอท่าอุเทน แม่น้ำสงคราม มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูผาหลัก ภูเพลิน และภูผาเหล็ก ในเขตอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร มีความยาวโดยประมาณ 420 กิโลเมตรและครอบคลุมพื้นที่ติดต่อกันถึง 33 อำเภอ ใน 5 จังหวัด คือจังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บ้านตาลปากน้ำ ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แม่น้ำสงครามนับว่าเป็นแม่น้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำโขง

เกี่ยวกับ HSBC Water Programme

โครงการ HSBC Water Programme จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือกับ 3 องค์กรเพื่อการพัฒนาและไม่แสวงหาผลกำไรที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในโลก ได้แก่ WWF,  WaterAid  และ Earthwatch โดยใช้งบประมาณกว่า  100 ล้านเหรียญสหรัฐและมีระยะเวลานาน 5 ปี มีจุดมุ่งหมายในการทำงานร่วมกันเพื่อป้องกัน รักษา และให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการดังกล่าวนับเป็นโครงการอนุรักษ์น้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งที่มีสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุน  

ทั้งนี้ Earthwatch จะเป็นผู้รับผิดชอบด้านการเข้ามามีส่วนร่วมของอาสาสมัครพนักงานเอชเอสบีซี กว่า 100,000 คนทั่วโลกในการตรวจสอบและวิจัยทรัพยากรน้ำจืดในบริเวณต่าง ๆ WaterAid จะช่วยจัดหาน้ำสะอาดให้แก่ผู้คนกว่าหนี่งล้านคนในประเทศบังกลาเทศ  อินเดีย  เนปาล ปากีสถาน ไนจีเรีย และกานา และ WWF จะทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นต่าง ๆ ภาคธุรกิจและชุมชนในการสร้างนโยบายใหม่ ๆ และดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ในพื้นที่แหล่งน้ำสำคัญ 5 แห่งด้วยกัน อันได้แก่ แม่น้ำแยงซี แม่น้ำคงคา แม่น้ำโขง พื้นที่ชุ่มน้ำแพนทานอล และริฟต์แวลลี่ย์

HSBC และ WWF-ประเทศไทย

ธนาคารเอชเอสบีซี เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อชุมชนที่ยั่งยืน จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ WWF-ประเทศไทย เพื่อโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสงครามตอนล่าง และฟื้นฟูระบบนิเวศในบริเวณดังกล่าว โดยมีการดำเนินกิจกรรมร่วมเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


ธนาคารเอชเอสบีซี ได้ให้การสนับสนุน WWF ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในโครงการ HSBC Global Water Programme เพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านน้ำ การอนุรักษ์ระบบนิเวศ และพัฒนาแผนการจัดการประมงและทรัพยากรน้ำจืดที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย สำหรับประเทศไทย ธนาคารเอชเอสบีซี ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่ WWF ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ห้วยน้ำเมา ปัจจุบันจึงมีการตกลงที่จะขยายขอบเขตพื้นที่การอนุรักษ์ไปยังแม่น้ำสงครามตอนล่างในเขตจังหวัดนครพนม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศน้ำจืดในพื้นที่เป้าหมายและนำไปสู่การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนของชุมชน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ได้แก่ การติดตามการจับปลา การกำหนดเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านการตรวจลาดตระเวน ควบคุมเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และเสริมสร้างจิตสำนึกแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเชื่อมโยงของระบบนิเวศ


วัตถุประสงค์
1.               เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำ รวมทั้งคุณภาพน้ำ และปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการสร้างแบบจำลองอุทกวิทยา
2.               เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู ดูแลรักษาระบบนิเวศน้ำจืดในพื้นที่ลุ่มน้ำ
3.               เพื่อสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำ และส่งผลที่ดีต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน
4.               เพื่อเผยแพร่บทเรียน และประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่นำร่องสู่ระดับนโยบาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ปี 4 เดือน (เริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 – 31 ธันวาคม 2559)

พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย
ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำสงครามตอนล่าง จังหวัดนครพนม เขตพื้นที่การปกครองอำเภอศรีสงคราม มีหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 14 หมู่บ้าน และในเขตพื้นที่การปกครองอำเภอท่าอุเทน มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านเป้าหมายทั้งสิ้น 20 หมู่บ้าน
 
ภูมิหลังเกี่ยวกับโครงการ
แม่น้ำโขง นับว่าเป็นแม่น้ำที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน เช่น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม ทรัพยากรธรรมชาติจากแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสัตว์น้ำ ได้ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงใน 5 ประเทศ ดังกล่าวกว่า 60 ล้านคน ขณะเดียวกัน ปัจจุบันแม่น้ำโขงเองกำลังได้รับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาหาร โปรตีนจากสัตว์น้ำ หรือปลาที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาอย่างช้านาน

แม่น้ำสงคราม มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาภูผาหลัก ภูเพลิน และภูผาเหล็ก ในเขตอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร มีความยาวโดยประมาณ 420 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ติดต่อกันถึง 33 อำเภอ ของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม

คุณค่า ความสำคัญ และการใช้ประโยชน์
แม่น้ำสงคราม มีคุณค่าและมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีพของคน พืช และสิ่งมีชีวิต
·       เป็นแหล่งน้ำผิวดินให้แก่แหล่งน้ำโดยรอบและแม่น้ำโขง รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ ที่สำคัญ สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของชุมชน
·       เป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับน้ำท่วม ชะลอความรุนแรงการไหลบ่าของน้ำ ช่วยดักจับสารเคมี สารพิษ ตะกอนดิน และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
·       เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งผสมพันธุ์ และทำรัง วางไข่ของสัตว์น้ำที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาหลายชนิดจากแม่น้ำโขงอพยพมาผสมพันธุ์ และวางไข่ พร้อมทั้งเป็นแหล่งอนุบาลลูกปลา ก่อนที่จะออกไปเจริญเติบโตในแม่น้ำโขง  เป็นแหล่งอาหารและรายได้ที่สำคัญให้แก่ประชากรที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขงต่อไป
 
เกี่ยวกับธนาคารเอชเอสบีซี   
1.     ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย
เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสำนักงานให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431  ธนาคาร  เอชเอสบีซีเปิดให้บริการด้านการเงินและการธนาคาร ทั้งบริการด้านเงินฝาก สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจ ธุรกิจสถาบันการเงิน บริการด้านบริหารเงินและตลาดทุน บริการดูแลและรับฝากหลักทรัพย์ บริการการค้าและเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการด้านการชำระเงินและบริหารเงินสดแก่ลูกค้าประเภทองค์กร

2.    กลุ่มเอชเอสบีซี 
กลุ่มเอชเอสบีซี เป็นสถาบันผู้ให้บริการด้านการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่      ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีเครือข่ายสาขากว่า 6,200 แห่งใน 74 ประเทศและเขตปกครองทั้งในยุโรป ฮ่องกง ประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย แปซิฟิก อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ โดยมีสินทรัพย์รวม 2,754 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557) ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มเอชเอสบีซี   
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606 
เกี่ยวกับ WWF และ WWF-ประเทศไทย

WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดและเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกมีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคนและมีเครือข่ายทํางานอยู่ในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศ    พันธกิจของ WWF คือลดการบุกรุกและยั้บยั้งการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลกพร้อมไปกับสร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนด้วยการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลกสร้างหลักประกันให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนผลักดันให้เกิดการลดมลภาวะและลดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง

WWF ใช้เวลามากกว่า 50 ปี ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่าง ๆ กว่า 12,000 โครงการ ใน 153ประเทศที่กระจายกันอยู่ทั่วโลก โดยเน้นการอนุรักษ์ในพื้นที่สำคัญ 200 แห่ง (The Global 200: Key Ecoregions) พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญระดับโลกในด้านความสมบูรณ์ของทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่น

สำหรับในประเทศไทย WWFได้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 โดยให้การสนับสนุนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2528-2537 และได้จัดตั้ง WWF สำนักงานประเทศไทยขึ้นในปี พ.ศ.2536 โดยได้ดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในหลายพื้นที่ในประเทศไทยซึ่งพื้นที่หนึ่งที่ WWF-ประเทศไทยได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบันก็คือ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง, น้ำเมา, น้ำสงคราม, แม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดนครพนม โดย ได้มีการจัดทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจับปลา ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลา การอพยพของปลาในพื้นที่หมู่บ้านจังหวัดบึงกาฬ รวมทั้งสิ้น 42 หมู่บ้าน จัดทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมในหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนครพนม และปัจจุบันได้ขยายบทเรียนและประสบการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวไปดำเนินงานโครงการในพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่างต่อไป