วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ททท.สุรินทร์ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ งานช้างปี 2566 ผู้ว่าสุรินทร์ เป็น...

มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2566 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ งานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ระดับประเทศ ต้อนรับฤดูหนาวแห่งอีสานใต้ ณ ศูนย์คชศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงภาพรวมในการจัดงาน ‘มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2566 โดยกล่าวถึงการขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในการร่วมกันประชาสัมพันธ์การจัดงาน และเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวสุรินทร์ ร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนจังหวัดสุรินทร์ และกล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเที่ยวงาน ระหว่างวันที่ 16-27 พฤศจิกายน 2566 โดยมี Highlight ที่สำคัญ เช่น วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 พิธีต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ชมขบวนแห่ช้างเข้าเมืองที่ยิ่งใหญ่และตื่นตาตื่นใจ บริเวณสถานีรถไฟสุรินทร์ และ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วันเสาร์ที่ 18 และ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ชื่นชมกับความสามารถของช้างและความผูกพันในวิถีชีวิต คนกับช้าง ในการแสดงช้างที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่เคยจัดมา ภาคเช้าเริ่มเวลา 08.30–11.00 น. และภาคกลางคืน เวลา 18.00-21.00 น สามารถสำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ นายพรชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เตรียมพร้อมจัดงานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการจัดงาน ครั้งที่ 23 ในการจัดงาน “มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2566" ซึ่งจะมีการจัดงานในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2566 ชมขบวนต้อนรับช้าง ตื่นตาตื่นใจขบวนขบวนพาเหรดช้าง เคลื่อนขบวนออกจากบริเวณหลังสถานีรถไฟสุรินทร์ไปยัง บริเวณลานอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีฯ ระหว่างนี้ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ตลอดขบวน และร่วมกันเลี้ยงอาหารช้างใหญ่ที่สุดในโลก ถือว่าเป็นการสร้างบุญกับสัตว์ใหญ่ที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย นายทีวีทรัพย์ โล้เจริญรัตน์ นายยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศีขรภูมิ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้เดินทางไปสัมผัสดินแดนที่เป็นที่ตั้ง ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และรับชมถึงความเป็นมาของปราสาทคู่บ้านคู่เมืองสุรินทร์ ก็คือ การแสดงสืบสานตำนานพันปี ปราสาทศีขรภูมิ ประจำปี 2566 ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้น ในวันศุกร์ที่ 17 และวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 นี้ ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ โฆษกกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ประเด็นสำคัญที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ให้มีศักยภาพได้ มาตรฐาน สะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล ทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศเดินทางมาจังหวัดสุรินทร์ รวมถึงการผลักดันการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และกิจกรรมใหม่ๆ ที่เป็น Land Mark สำคัญ และเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การจัดงานกฐินช้าง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ของจังหวัดสุรินทร์ นางนงเยาว์ จิรันดร ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ กล่าวถึงภารกิจของ ททท.ในการประชาสัมพันธ์ และประสานงาน ททท.ในประเทศ ทั้ง 45 สำนักงานในการเสนอข่าว รวมถึงสื่อมวลชน และพันธมิตรทางการท่องเที่ยว ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานช้างสุรินทร์ ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ เชิญสื่อมวลชนต่างประเทศ จากมาเลเซียร่วมงานและเสนอข่าว พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสนอขายร่วมกับบริษัทนำเที่ยว ในและนอกพื้นที่ เพื่อนำนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานฯ และสร้างการรับรู้ให้เพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ Facebook TAT Surin 044514447-8 ฝากกดติดตามช่อง โตโต้โสนแย้ม ด้วยนะคร๊าบบบ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

บัวขาว บัญชาเมฆ รำไหว้ครูมวยไทย น่าดูมาก ที่งานช้างสุรินทร์

การเดินทางของเจ้าชายน้อย ภาษาเขมรถิ่นไทย “ Le Prince en khamer du nord”

 

การเดินทางของเจ้าชายน้อย ภาษาเขมรถิ่นไทย “ Le Prince en khamer du nord”

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00-19.00 น.

ณ สนามหญ้า หน้าปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

 

พบกับ 3 ศิลปินแห่งชาติ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

อัศศิริ ธรรมโชติ

ไพวรินทร์ ขาวงาม

การเสวนาโดยวิทยากร

ปรีดา ปัญญาจันทร์ นักเขียนวรรณกรรมเด็ก

นักวาดภาพประกอบ

อัษฎางค์ ชมดี และ ดร.ดิเรก หงษ์ทอง ผู้แปล

สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ ผู้ริเริ่มโครงการฯ นักเดินทางและนักเขียนอิสระ

ดำเนินรายการโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัศมี กฤษณมิษ อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ชม การจัดแสดงผ้าไหมมัดหมี่สุรินทร์ "ลายเจ้าชายน้อย" โดยทีมออกแบบลายผ้า ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ การอ่านวรรณกรรมเจ้าชายน้อยด้วยภาษาไทย/เขมรถิ่นไทย/ฝรั่งเศส            โดยนักเรียนโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์  พิเศษสุด ชมการแสดงดนตรีของ สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติผู้มีถิ่นฐาน คนสุรินทร์ และ สุนทรี เวชานนท์ ศิลปินล้านนา

          ด้วยทางกลุ่มผู้จัดทำ โครงการเจ้าชายน้อยภาษาถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงานเพื่อสังคม โดยมิได้หวังผลกำไร ได้จัดทำหนังสือ เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) ผลงานการประพันธ์ของอองตวน เดอแซงเต็กซูเปรี นักเขียนชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆมากที่สุดในโลก มาเป็นภาษาถิ่นของไทย เช่น ภาษาล้านนา ภาษาปะกาเกอะญอ ภาษามลายูอักษรยาวี และเล่มล่าสุดคือ ภาษาเขมรถิ่นไทย และมีกำหนดการจัดงานเปิดตัวหนังสือเจ้าชายน้อยภาษาเขมรถิ่นไทย ในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ สนามหญ้าหน้าปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมระดับโลกโดยผ่านภาษาเขมรถิ่นไทยให้กับเยาวชน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ผ่านวรรณกรรมระดับโลก ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่วรรณกรรมโลกในภาษาเขมรสุรินทร์ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย


โตโต้โสนแย้มพาเที่ยว รายงาน