วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เที่ยวงาน "เหยา" มาเว้าภูไทนำเดวเด้อ...



ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.sawasdeenakhonphanom.com/
ความเป็นมาของพิธีเหยา
       ผีฟ้าหรือผีแถน มีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี และเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่าผีอื่นชนิดอื่น มิได้อยู่บนต้นไม่ ภูเขา หรือพื้นดิน ชาวอีสานทุกท้องถิ่นนับถือผีฟ้ากันอย่างเคร่งครัดจริงจังชาวอีสานส่วนใหญ่มีความเชื่อศรัทธา “ผีฟ้าหรือแถน ” ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทสามารถให้ดีให้ร้ายแก่มนุษย์ สามารถดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ตลอกจนคอยเช่วยเหลือมนุษยืเมื่อยามประสบ
ความเดือดร้อนหรือประสบภัยพิบัติ เป็นต้นว่า เมื่อยามเจ็บป่วยไข้ ชาวบ้านก็จะทำพิธีเหยา หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ลำผีฟ้า โดยอัญเชิญ อ้อนวอนขอร้องให้ผีฟ้าลงมาช่วยขจัดโรคภัย ผีฟ้าที่อัญเชิญลงมานั้นว่วนใหญ่มีชื่อพ้องกับตัวละครในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น พิมพา จูมคำ ศรีธน มโนรา สีดา สินชัย อรพิม เป็นต้น เชื่อว่าขณะที่บุคคลดังกล่าวตอนยังมีชีวิตตอยู่บนโลกนั้นต้องเคยประกอบคุณงามความดี คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งสมบุญบารมีไว้มาก ดังนั้นเมื่อตายไปจึงได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ กลายเป็น “ ผีฟ้า” สามารถลงมาช่วยเหลือผู้คนบนโลกได้เช่นเคย ชาวอีสานจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผีฟ้าเป็นผีหรือเทพที่ทรงคุณธรรม เป็นทั้งผู้สร้างโลกและทำให้เกิดมนุษย์ ตลอดจนคอยช่วยเหลือมนุษย์ เมื่อยามประสบปัญหาเดือดร้อน ถือเป็นผีบรรพชนของตนเองจึงต้องศรัทธาเคารพอย่างยำเกรง

ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวผู้ไทย
                     การที่ชาวอีสานต้องอ้อนวอนอัญเชิญผีฟ้า ให้มาช่วยรักษาผู้ป่วยนั้น ด้วยเชื่อว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์ น่าจะเกิดจากการล่วงละเมิดต่อผี เรียกว่า “การผิดผี” ผีจะลงโทษให้มีอันเป็นไปต่างๆ การเหยาหรือลำผีฟ้าเป็นพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยโดยอัญเชิญผีฟ้าให้ลงมาสิงสถิตในร่างของคนทรงหรือ “นางเทียม” (ผู้หญิงที่สมมติขึ้น) เพื่อจะให้ทำนายลักษณะอาการของผู้ป่วย ประกอบพิธีกรรมรักษาและยังเป็นสื่อกลางระหว่างผีที่มากระทำให้ร้ายกับผู้ป่วยให้มีความเข้าใจต่อกันอีกด้วย
พิธีกรรมเหยาของชาวผู้ไทย จำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้
             1. การเหยาเพื่อชีวิต เป็นลักษณะการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หรือเหยาต่ออายุ ภาษาหมอเหยาเรียกว่า เหยาเพื่อเลี้ยมหิ้งเลี้ยมหอ
             
2. การเหยาเพื่อคุมผีออก เป็นการสืบทอดหมอเหยา กล่าวคือ เมื่อมีผู้ป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย เมื่อเหยาดูแล้ว ผีบอกว่าจะต้องเป็นหมอเหยารักษาจึงจะหาย ดังนั้นหมอเหยาจึงมีการเหยาคุมผีออก (เนื่องจากมีผีร้ายเข้าสิง) ถ้าผีออกผู้ป่วยก็จะลุขึ้นมาร่ายรำกับหมอเหยาด้วยจะทำให้อาการป่วยไข้นั้นหาย ผู้ที่เป็นหมอเหยาที่มาทำหน้าที่เหยาก็จะมีตำแหน่งเป็นแม่เมือง ส่วนผู้ป่วยที่หายก็จะกลายเป็นหมอเหยาต่อ ซึ่งจะมีตำแหน่งเป็นลูกเมืองต่อไป
             
3. การเหยาเพื่อเลี้ยงผี เนื่องจากในปีหนึ่งๆหมอเหยาจะไปเหยาเพื่อรักษาผู้ป่วยบ้างผรือเหยาเพื่อจุดประสงค์อื่นก็ตาม จำเป็นที่หมอเหยาจะต้องจัดงานเลี้ยงเพื่อขอบคุณผี โยจะจัดในช่วงเดือน 4 หรือเดือน 6 ของทุกๆปี แต่ถ้าในปีใดหมอเหยาไม่ได้เหยามากนักหรือว่าข้าวปลาไม่อุดมสมบูรณ์ก็จะไม่เลี้ยง หากแต่จะทำพิธีฟายน้ำเหล้า(ใช้ใบและดอกไม่มาจุ่มน้ำเหล้าและประพรมให้กระจายออกไป) แทนในการเหยาเลี้ยงผีนั้นอาจะเป็นแม่เมืองหรือลูกเมืองเป็นผู้กระทำก็ได้ โดยผู้เป็นเจ้าภาพจะเชิญแขกหรือบรรดาหมอเหยาด้วยกัน ตลอดจนญาติพี่น้องมาช่วยในการจัดงาน โดยจะ มีการเหยาอยู่ 2 วันกับ 1 คืน
            
4. การเหยาเอาฮูปเอาฮอย เป็นพิธีกรรมเหยาในงานประเพณี การเหยาเอาฮูปเอาฮอยจะทำกันในงานบุญพระเวสฯของแต่ละปี และจะทำติดต่อกัน 3 ปี เว้น 1 ปี จึงจะทำอีก พิธีเหยานี้ส่วนใหญ่ผู้ทำพิธีจะเป็นผู้ชายล้วน คำเหยาหรือกลอนจะเป็นไปในเรื่องของอวัยวะเพศและเรื่องเพศสัมพันธ์ แม้แต่การสอยก็เป็นคำลามก
วัตถุประสงค์ของพิธีเหยา
            1. เพื่อรักษาผู้ป่วย
            

2. เพื่อต่ออายุหรือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต            
3. เพื่อขอบคุณผีหรือวิญญาณที่มาช่วยรักษาผู้ป่วย            
4. เพื่อช่วยปกปักรักษาให้อยู่ดีมีสุข

อุปกรณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในพิธีเหยา
ในการเหยาของชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่มักมีองค์ประกอบ 4 ส่วนกล่าวคือ
           

 1. หมอเหยา (บางท้องถิ่นเรียกว่าหมอลำผีฟ้า)   
 2. หมอแคน           
 3. ผู้ป่วย           
 4. เครื่องคาย ซึ่งประกอบด้วย
๑. ผ้าซิ่น ๑ ผืน มีหัว มีตีน (มีเชิง ) นิยมใช้ผ้าฝ้าน ๑ วา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหญิง และผ้าซิ่น ๑ ผืนสำหรับผู้ป่วยที่เป็นชาย๒. ผ้ามน (ผ้าที่ทำให้มุมมีลักษณะโค้ง) ๑ ชิ้น
๓. แพรขาว ๑ วา
๔. เงิน ๔ บาท ๘ สตางค์
๕. กรวยดอกไม้
๖. ขันน้ำหอมใส่ขมิ้น ๓ ฝาน ๑ ขัน
๗. ไข่ไก่ดิบสำหรับเสี่ยงทาย ๑ ฟอง
๘. เหล้า ๑ ขวด (ให้เรียกว่าน้ำหอม)
๙. ข้าวเหนียวสุก ๑ ก้อน
๑๐. ข้าวสารสำหรับวางไข่ ประมาณ ๑ ขัน หรือ ๑ ถ้วย
๑๑. ขัน ๕ ขัน ๘
๑๒. บุหรี่ 4 มวน
๑๓. คำหมก ๔ คำ

๑๔. เทียนไข ๙ คู่และ ๖ คู่ รวมเป็น ๑๕ คู่
๑๕. ดอกไม้ ๕ คู่ กับ ๓ คู่ รวมเป็น ๘ คู่ (ใช้เฉพาะดอกไม้ขาว)
๑๖. ผมของใครก็ได้ขนาดเท่ากับนิ้วก้อย (ประมาณ 1 ปอย)
๑๗. หวีและกระจก
             เครื่องคายดังกล่าวจะต้องวางไว้ใน “ถาดเครื่องเซ่น”
 เมื่อกระทำพิธีเสร็จจะยกเครื่องคายทั้งหมดขึ้นไว้บนหิ้งเป็นเวลา 
๑ คืน จึงยกลงมาได้ ส่วนน้ำขมิ้นนั้นจะให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อรักษาโรค

กระบวนการพิธีเหยา
             เมื่อเตรียมเครื่องคายเรียบร้อยแล้วหมอเหยาที่ทำพิธี(ครูบา) จะเริ่มกล่าวคำไหว้ครู และเสี่ยงทายอธิฐานว่าผู้ป่วยจะมีกาสหายป่วยได้หรือไม่ โดยการนำเอาขมิ้นฝานลงในน้ำ ๗ ฝาน ถ้าขมิ้นทั้ง ๗ ฝานอยู่รวมกัน แสดงว่าผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายได้ ถ้าขมิ้นไม่รวมกันก็แสดงเห็นว่า อาจรักษาให้หายได้ค่อนข้างยากหลังจากทำพิธีเสี่ยงแล้ว จะมีครูบา (หมอเหยา) คนเก่าซึ่งตายไปแล้วกลับกลายเป็นผีฟ้ามาสิงร่างครูบาซึ่งจะเป็นหมอเหยาทำให้หมอเหยาพูด
: พูดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผีบรรพชนอยากได้ของบังสุกุล หรือเป็นเพราะผู้ป่วยขายควายขายนา โดยมิได้บอกกล่าวผีบรรพชน หรือคนในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นต้น 

   ผู้ที่นั้นอยู่รอบข้างจะคอยฟังและจดบันทึกไว้ ถ้าเป็นจริงตามที่หมอเหยาพูดญาติของผู้ป่วยจะพากันกล่าวยอมรับและจะปฏิบัติตามที่ต้องการ ถ้าในกรณีที่ครูบาเก่าของผู้ป่วย(ผู้ป่วยเคยมีครูบามาแล้ว และครูบาผู้นั้นตายจึงได้เข้ามาเป็นลูกน้องของครูบาใหม่) 
ต้องการเครื่องบริขาร ผู้ป่วยจะต้องทำพิธีลำส่ง โดยการนำเครื่องเก้า และกระทงเก้าห้องมาเซ่นสังเวย และกระทำ
พิธีลำส่ง ซึ่งหมายถึง ส่งสิ่งของให้แก่ครูบาเก่าที่ตายไปแล้ว ในการทำพิธีนี้ผู้ป่วยแต่ละรายคงไม่จำเป็นต้องทำทุกคน เพราบางรายป่วยเนื่องจากสาเหตุอื่น 

มิได้ป่วยเพราะมีครูบาเก่ามาอยากได้เครื่องบริขาร(เครื่องใช้สอย) ดังกล่าวแล้ว
               
ในกรณีที่ครูบาไหว้ครูทำพิธีเสี่ยง จนกระทั้งครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ครูบาผู้ทำพิธีจะไม่รู้สึกตัว จากนั้นจะลุกขึ้นฟ้อนรำไปเรื่อยๆเมื่อเริ่มลุกขึ้น ครูบาจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชาย) ถ้าผู้ป่วยเป็นหญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้ายโดยสวมทับผ้านุ่มเดิม ซึ่งเตียมวางไว้ใกล้กับเครื่องคายและผู้ทำหน้าที่สวมให้จะต้องเป็นผู้อาวุโสในกลุ่ม
               เมื่อครูบาเริ่มฟ้อนรำ หมอแคนก็จะเป่าแคน จนได้เวลาอันสมควร ชาวคณะที่เป็นกลุ่มอาวุโสก็จะทำหน้าที่ของตนเป็นต้นว่า บางคนขี่ม้าก้านกล้วย ยิงปืนไปด้วย บางคนฟ้อนรำโดยเดินไปรอบๆกระทงเก้าห้องที่วางไว้ตรงกลางห้องพิธี จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะนำเครื่องบริขารไปส่งญาติของผู้ป่วยผู้ชายจะทำหน้าที่ถือกระทง ส่วนผู้หญิงจะทำหน้าที่หาบตะกร้า ซึ่งมีเครื่องเก้าอยู่ในนั้น จากนั้นจึงเริ่มลงจากบ้าน โดยให้ผู้ที่ขี่ม้าก้านกล้วยออกเดินหน้า พร้อมกับยิงปืนไปตลอดทาง ติดตามด้วยผู้ยกกระทง สำหรับผู้หาบจะต้องเดินอยู่หลังสุด เมื่อขบวนไปส่งเดินลงจากบ้าน ครูบาจะทำพิธีโดยใช้ช้าง
(เหล้า) หยดลงพื้น ๓ หยด แล้วใช้มีดขีดเส้น ๑ เส้น พิธีนี้ทำที่หน้าบันได เพราะถือว่าเป็นการขีดครั่นไม่ให้ครูบาเก่ากลับคืนมาทวงสิ่งของอีก
                
สำหรับกระทงและเครื่องคาย จะต้องวางไว้ให้ห่างหมู่บ้านออกไปตามทิศทางที่ครูบาจะเป็นผู้กำหนดให้วาง จากนั้นผู้ทำหน้าที่ต่างๆจะต้องเดินทางกลับบ้านโดยไม่หยิบ ถือ หรือ หาบสิ่งของใดมาเลย จะมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน หาบตะกร้ากลับคืนมา คงเหลือไว้แต่กระทงและอุปกรณ์อื่นเป็นอันเสร็จพิธีลำส่ง

พิธีขึ้นลำปัว (รักษา)

                 เมื่อทำพิธีลำส่งเสร็จ ผู้ป่วยจะถือขัน ภายในมีดอกไม้ ๑ คู่ ผู้ป่วยจะยกขันดอกไม้แล้วมาคุกเข่ากราบต่อหน้าครูบา ผู้เป็นครูบาจะจับที่ขัน แล้วกล่าวคำอวยพรให้หายเร็วๆ ชาวคณะทุกคนก็ต้องทำเช่นกัน
                 
เมื่อเสร็จพิธีขึ้นขันแล้ว หมอแคนก็จะเป่าอีก ในการเป่าแคนนั้นผู้เป่าจะสามารถทายทักได้ว่าผู้ป่วยจะมีโอกาสหายยากหรือง่าย โยสังเกตจากการเป่าโดยสังเกตว่าเสียงแจ่มใสหรือแหบพร่าเบาไป เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวคณะทุกคนต้องลุกขึ้นฟ้อนรำ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก ถ้าลุกได้จะลุกขึ้นมาฟ้อนรำด้วย การฟ้อนรำไม่กำหนดเวลาขึ้นกับผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยต้องการเลิกก็ต้องเลิก ก่อนเลิกพิธีครูบาพร้อมชาวคณะจะไปกราบที่เครื่องคาย ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นครูบาจะนำเครื่องคายทั้งหมดไปเก็บบนหิ้ง
                 
สำหรับสถานที่เหยานั้น ชาวผู้ไทใช้สถานที่แตกต่างกัน เป็นต้นว่า การเหยาเพื่อชีวิต เช่นเหยาผู้ป่วย เหยาต่ออายุ และเหยาคุมผีออก นั้นจะทำในบ้านของผู้ป่วย ถ้าการเหยาเลี้ยงผีนั้นจะทำที่บ้านเจ้าภาพ ซึ่งอาจเป็นบ้านของแม่เมืองหรือลูกเมืองคนใดคนหนึ่งก็ได้
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.sawasdeenakhonphanom.com/