เมื่อเวลา 18.00 น.ของวันที่ 12 เมษายน 2555 นายวิชุกร กุหลาบศรี ผอ.ททท.สำนักงานนครพนม พร้อมด้วย คุณ ปรมินทร์ ผจก.ฝ่ายขาย โรงแรมวิวโขง และตัวเแทนจากสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม ร่วมงาน วันผู้ไทโลก และงานสุขสันติวันใหม่ผู้ไทเยือนถิ่น ที่อ.เรณูนคร จ.นครพนม โดยในงานดังกล่าว ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิเช่น การออกร้านแสดงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวผู้ไท อ.เรณูนคร อาทิเช่น การแสดงรำวงย้อนยุค การลงข่วงเข็ญฝ้าย การร้องรำบทเพลงผู้ไทย โดยมีทั้งฝ่ายชายแหละหยฺงร้องรำทำเพลงโต้ตอบกันสนุกสนาน การแสดงการรำบูชาผี เป็นต้น ในส่วนของเวทีพาข้าวแลงนั้นก็ประกอบไปด้วยการแสดงที่ยิ่งใหญ่อลังการจากผู้ไททั่วสารทิศ เป็นต้นว่าจาก กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร สปป.ลาว.ฯ ผอ.ททท.นครพนม เปิดเผยว่า วันนี้นอกจากมีการเปิดถนนวัฒนธรรมแล้วยังมีการแสดงถนนอาหาร อีกด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555
ศาลเจ้าปู่ถลา
ศาลเจ้าปู่ถลา ตั้งอยู่ท้ายเมืองเรณูทางทิศตะวันตก ห่างจากวัดปัจฉิมาวาสประมาณ 200 เมตร ชาวผู้ไทยเรณูนครจะพร้อมใจกันเซ่นไหว้ปีละ 1 ครั้ง ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้มี ช้าง(เหล้าไห) ม้า(สุรา) อาหราจะต้องนำวัวเป็น ๆ ไปเชือดที่บริเวณศาลเจ้าปู่ถลาแล้วทำ "ลาบเลือด" ซึ่งเป็นของโปรดสำหรับเจ้าปู่และแกงเนื้อวัว การเซ่นไหว้เจ้าปู่ถลา ลูกหลานชาวเรณูเรียกว่า "แก้บะ" เมื่อลูกหลานชาวผู้ไทยเรณูนครบนหรือฮ้องเจ้าปู่ช่วยทุกครั้งจะต้องแก้บน การแก้บน(แก้บะ) ใช้อาหารสองอย่าง คือ พาข้าวแดงพาแกงร้อน และวัวเป็นตัวตามที่ผู้บนได้บอกเจ้าปู่ไว้ หากลูกหลานผู้ใดละเลยผู้บนจะได้รับภัยพิบัติทั้งแก่ตนเองและบุตรหลานทันที อาหารที่เหลือจากเจ้าปู่ เมื่อเจ้าปู่อิ่มแล้ว ลูกหลานสามาร
วัดภูพานอุดมธรรม ดานสาวคอย
เลขที่ 97 หมู่ 12 บ้านดานสาวคอย
ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม 48130
โทรศัพท์ 08-1558-4809, 042-571-783
พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาส
วัดภูพานอุดมธรรม พุทธมณฑลแห่งนครพนม เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 4 ประจำจังหวัดนครพนม และเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครพนม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในแต่ละปีจะมีข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และญาติโยม รวมทั้งพระสงฆ์จากทั่วประเทศ เดินทางมาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม อบรมจริยธรรมและคุณธรรม อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตลอดจนฝึกอาชีพให้ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก
วัดตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บริเวณอุทยานแห่งชาติภูผายล ห่างจากอำเภอนาแก ประมาณ 6 กิโลเมตร (เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดนครพนม) การเดินทางขึ้นไปควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเพราะทางขึ้นขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดานสาวคอยเป็นลานหินเรียบ มีต้นไม้ ป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด บรรยากาศเงียบสงบร่มเย็นตลอดปี เมื่อขึ้นถึงลานหินนี้แล้ว สามารถมองเห็นยอดพระธาตุพนม ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้เนื่องมาจากหนุ่มสาชาวบ้านสมัยก่อนเวลาจะไปหาของป่าจะนัดหมายมาคอยกันที่ลานหินนี้เป็นประจำ หรือมาเที่ยวชมความงาม โดยฝ่ายสาวจะมาเป็นผู้คอย จึงได้ชื่อว่า "ดานสาวคอย" ทางวัดจัดสร้างวิหารซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้นเพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ รวมทั้งสร้างโรงครัว และห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปปฏิบัติธรรม สามารถรับผู้มาปฏิบัติธรรมมากถึง 300 คน
ในอดีตพื้นที่วัดภูพานอุดมธรรม (วัดภูพานดานสาวคอย) แห่งนี้ เป็นฐานที่มั่นของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมือง และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงชนิดที่เรียกว่า มีความตาย และคราบเลือด อยู่ทั่วทุกอณูของพื้นแผ่นดิน หลังจากพระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) บวชแล้ว ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน อันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เยาวชน ประชาชน พุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่อง จนสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นวัดภูพานอุดมธรรม
นอกจากนี้แล้ว บริเวณพื้นที่มีถ้ำต่างๆ มากมาย จากลานธรรมสวนสมเด็จ หน้าอุโบสถ สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ทั่วบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะองค์พระธาตุพนม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก นับเป็นทัศนียภาพที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง
พ.ศ. 2527 นายสุนทร จัตุชัย นายอำเภอนาแกในสมัยนั้น ได้นำคณะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการในพื้นที่ ขึ้นสำรวจภูมิทัศน์ดานสาวคอย และเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างศาสนสถาน จึงชักชวนผู้มีจิตศรัทธารวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมืองให้กลับเข้ามา เพื่อร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแผนการเมืองนำการทหาร (66/2523) โดยรวบรวมเงินเพื่อสร้างพระพุทธรูป เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งการยุติการสู้รบและนำความสงบร่มเย็นมาสู่ดินแดนแห่งนี้
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายวิโรจน์ อำมะรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในขณะนั้น ได้เป็นประธาน ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อสร้างองค์พระพุทธรูป แต่ในคืนวันนั้นเองได้มีผู้ไม่ปรารถนาดี ทำลายฐานวางศิลาฤกษ์และได้นำสิ่งของอันมีค่าที่บรรจุไว้ไปทั้งหมด ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในอำเภอนาแก 145 หมู่บ้าน ในที่สุดก็สร้างพระพุทธรูปเสร็จ โดยมีขนาด หน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 14 เมตร ศิลปะเชียงแสนสิงห์ 1
พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวต่อมาได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตรุทิศประทานพร" ขณะเดียวกันเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงอนุโมทนา และประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุไว้ ณ พระเกตุโมลี องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร
ระยะแรกของการสร้างวัดนี้ การหาพระสงฆ์มาจำพรรษาเป็นเรื่องยากมาก เพราะขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังถือว่าเป็นพื้นที่สีชมพู ในที่สุดชาวบ้านได้พร้อมใจกันกราบนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) มาดูแลสำนักสงฆ์ภูพานดานสาวคอยวนาราม จนกระทั่งได้รับอนุมัติตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาวัดได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า "วัดภูพานอุดมธรรม" และเกิดเป็นหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา เรียกว่า "บ้านดานสาวคอย"
เหตุผลหนึ่งของการนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล มาดูแลวัดนี้ เนื่องจากเมื่อครั้งเป็นฆราวาส ท่านเคยรับราชการเป็นตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างดี รวมทั้งท่านยังเป็นพระลูกศิษย์ที่มีความกตัญญู มีความเคารพผูกพันเป็นอย่างยิ่งกับพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งนับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าลุ่มน้ำโขง
วัดภูพานอุดมธรรม ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดร.สร้อยเพชร เรศานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บาชโทลด์ จำกัด และประธานดำเนินการกองทุน "สุวรรณวาจกกสิกิจ" ถือว่าเป็นพลังศรัทธาสำคัญในการเชิญชวนกัลยานมิตร รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศมาร่วมทำบุญสร้างวัดนี้
พ.ศ. 2538 สำนักงานปกครองอำเภอนาแก นำโดยนายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา นายอำเภอนาแกในขณะนั้น ได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งฐานที่มั่นเก่าของกลุ่มชนที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีการสร้างศาลาชมวิว และปรับปรุงบันได 221 ขั้น ที่เป็นทางขึ้นดานสาวคอย แต่เดิมในอดีตก่อนที่จะมีการปรับปรุงถนน ตลอดจนการปลูกต้นไม้รอบบริเวณวัด อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาวัดแห่งนี้ คือ วัดต้องปั่นไฟฟ้าใช้เอง ทำให้การก่อสร้างล่าช้า ขณะเดียวกันในยามค่ำคืนเมื่อมีผู้มาร่วมปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ก็อยู่ด้วยกันความยากลำบาก ต่อมาทางวัดได้ทุ่มงบเพื่อปักเสาไฟฟ้าเอง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 4 ล้านบาท ในการนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้อนุมัติงบสนับสนุนเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัดนี้จะอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศาสนสถาน แต่พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) ก็ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ภายในวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2529 สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ โครงการพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อต่อต้านยาเสพติด บรรพชาสามเณร อุปสมบท บวชศีลจาริณี ในเดือนเมษายนของทุกปี งานอบรมปฏิบัติธรรม และการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ และตุลาคม ของทุกปี
สำหรับหน่วยงานหรือบุคคลใดประสงค์จะส่งบุคลากรไปฝึกอบรมปฏิบัติธรรม
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 08-1558-4809, 02-939-7265
การเดินทาง : ทางรถยนต์ วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 67 กิโลเมตร มีทางลาดปูนตลอดไปจนถึงเชิงเขา 5 กิโลเมตร และขึ้นไปบนเขาที่วัดตั้งอยู่อีก 2 กิโลเมตร ทางลาดปูนสะดวกเช่นกัน หากเดินทางมาจากอำเภอนาแก ตามถนนนาแก-รามคำแหง ประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดภูพานอุดมธธรรม
สนับสนุนข่าวโดย ทีมงาน ส.กินเกี้ยง บริการ ดนตรี เวที เครื่องเสียง ไปแสงสี ถ่ายทำสารคดี ครบวงจร คุณ ดี้ โทร 0883402636 คุณโตโต้ 0892770773
website : www.totostudio.blogspot.com พร้อมด้วย สโมสร ส.กินเกี้ยงFC.
ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม 48130
โทรศัพท์ 08-1558-4809, 042-571-783
พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาส
วัดภูพานอุดมธรรม พุทธมณฑลแห่งนครพนม เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 4 ประจำจังหวัดนครพนม และเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครพนม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในแต่ละปีจะมีข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และญาติโยม รวมทั้งพระสงฆ์จากทั่วประเทศ เดินทางมาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม อบรมจริยธรรมและคุณธรรม อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตลอดจนฝึกอาชีพให้ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก
วัดตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บริเวณอุทยานแห่งชาติภูผายล ห่างจากอำเภอนาแก ประมาณ 6 กิโลเมตร (เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดนครพนม) การเดินทางขึ้นไปควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเพราะทางขึ้นขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดานสาวคอยเป็นลานหินเรียบ มีต้นไม้ ป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด บรรยากาศเงียบสงบร่มเย็นตลอดปี เมื่อขึ้นถึงลานหินนี้แล้ว สามารถมองเห็นยอดพระธาตุพนม ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้เนื่องมาจากหนุ่มสาชาวบ้านสมัยก่อนเวลาจะไปหาของป่าจะนัดหมายมาคอยกันที่ลานหินนี้เป็นประจำ หรือมาเที่ยวชมความงาม โดยฝ่ายสาวจะมาเป็นผู้คอย จึงได้ชื่อว่า "ดานสาวคอย" ทางวัดจัดสร้างวิหารซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้นเพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ รวมทั้งสร้างโรงครัว และห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปปฏิบัติธรรม สามารถรับผู้มาปฏิบัติธรรมมากถึง 300 คน
ในอดีตพื้นที่วัดภูพานอุดมธรรม (วัดภูพานดานสาวคอย) แห่งนี้ เป็นฐานที่มั่นของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมือง และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงชนิดที่เรียกว่า มีความตาย และคราบเลือด อยู่ทั่วทุกอณูของพื้นแผ่นดิน หลังจากพระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) บวชแล้ว ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน อันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เยาวชน ประชาชน พุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่อง จนสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นวัดภูพานอุดมธรรม
นอกจากนี้แล้ว บริเวณพื้นที่มีถ้ำต่างๆ มากมาย จากลานธรรมสวนสมเด็จ หน้าอุโบสถ สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ทั่วบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะองค์พระธาตุพนม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก นับเป็นทัศนียภาพที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง
พ.ศ. 2527 นายสุนทร จัตุชัย นายอำเภอนาแกในสมัยนั้น ได้นำคณะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการในพื้นที่ ขึ้นสำรวจภูมิทัศน์ดานสาวคอย และเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างศาสนสถาน จึงชักชวนผู้มีจิตศรัทธารวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมืองให้กลับเข้ามา เพื่อร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแผนการเมืองนำการทหาร (66/2523) โดยรวบรวมเงินเพื่อสร้างพระพุทธรูป เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งการยุติการสู้รบและนำความสงบร่มเย็นมาสู่ดินแดนแห่งนี้
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายวิโรจน์ อำมะรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในขณะนั้น ได้เป็นประธาน ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อสร้างองค์พระพุทธรูป แต่ในคืนวันนั้นเองได้มีผู้ไม่ปรารถนาดี ทำลายฐานวางศิลาฤกษ์และได้นำสิ่งของอันมีค่าที่บรรจุไว้ไปทั้งหมด ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในอำเภอนาแก 145 หมู่บ้าน ในที่สุดก็สร้างพระพุทธรูปเสร็จ โดยมีขนาด หน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 14 เมตร ศิลปะเชียงแสนสิงห์ 1
พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวต่อมาได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตรุทิศประทานพร" ขณะเดียวกันเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงอนุโมทนา และประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุไว้ ณ พระเกตุโมลี องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร
ระยะแรกของการสร้างวัดนี้ การหาพระสงฆ์มาจำพรรษาเป็นเรื่องยากมาก เพราะขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังถือว่าเป็นพื้นที่สีชมพู ในที่สุดชาวบ้านได้พร้อมใจกันกราบนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) มาดูแลสำนักสงฆ์ภูพานดานสาวคอยวนาราม จนกระทั่งได้รับอนุมัติตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาวัดได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า "วัดภูพานอุดมธรรม" และเกิดเป็นหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา เรียกว่า "บ้านดานสาวคอย"
เหตุผลหนึ่งของการนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล มาดูแลวัดนี้ เนื่องจากเมื่อครั้งเป็นฆราวาส ท่านเคยรับราชการเป็นตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างดี รวมทั้งท่านยังเป็นพระลูกศิษย์ที่มีความกตัญญู มีความเคารพผูกพันเป็นอย่างยิ่งกับพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งนับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าลุ่มน้ำโขง
วัดภูพานอุดมธรรม ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดร.สร้อยเพชร เรศานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บาชโทลด์ จำกัด และประธานดำเนินการกองทุน "สุวรรณวาจกกสิกิจ" ถือว่าเป็นพลังศรัทธาสำคัญในการเชิญชวนกัลยานมิตร รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศมาร่วมทำบุญสร้างวัดนี้
พ.ศ. 2538 สำนักงานปกครองอำเภอนาแก นำโดยนายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา นายอำเภอนาแกในขณะนั้น ได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งฐานที่มั่นเก่าของกลุ่มชนที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีการสร้างศาลาชมวิว และปรับปรุงบันได 221 ขั้น ที่เป็นทางขึ้นดานสาวคอย แต่เดิมในอดีตก่อนที่จะมีการปรับปรุงถนน ตลอดจนการปลูกต้นไม้รอบบริเวณวัด อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาวัดแห่งนี้ คือ วัดต้องปั่นไฟฟ้าใช้เอง ทำให้การก่อสร้างล่าช้า ขณะเดียวกันในยามค่ำคืนเมื่อมีผู้มาร่วมปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ก็อยู่ด้วยกันความยากลำบาก ต่อมาทางวัดได้ทุ่มงบเพื่อปักเสาไฟฟ้าเอง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 4 ล้านบาท ในการนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้อนุมัติงบสนับสนุนเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัดนี้จะอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศาสนสถาน แต่พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) ก็ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ภายในวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2529 สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ โครงการพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อต่อต้านยาเสพติด บรรพชาสามเณร อุปสมบท บวชศีลจาริณี ในเดือนเมษายนของทุกปี งานอบรมปฏิบัติธรรม และการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ และตุลาคม ของทุกปี
สำหรับหน่วยงานหรือบุคคลใดประสงค์จะส่งบุคลากรไปฝึกอบรมปฏิบัติธรรม
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 08-1558-4809, 02-939-7265
การเดินทาง : ทางรถยนต์ วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 67 กิโลเมตร มีทางลาดปูนตลอดไปจนถึงเชิงเขา 5 กิโลเมตร และขึ้นไปบนเขาที่วัดตั้งอยู่อีก 2 กิโลเมตร ทางลาดปูนสะดวกเช่นกัน หากเดินทางมาจากอำเภอนาแก ตามถนนนาแก-รามคำแหง ประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดภูพานอุดมธธรรม
สนับสนุนข่าวโดย ทีมงาน ส.กินเกี้ยง บริการ ดนตรี เวที เครื่องเสียง ไปแสงสี ถ่ายทำสารคดี ครบวงจร คุณ ดี้ โทร 0883402636 คุณโตโต้ 0892770773
website : www.totostudio.blogspot.com พร้อมด้วย สโมสร ส.กินเกี้ยงFC.
แขวงคำม่วน สปป.ลาว
แขวงคำม่วน (ลาว: ຄໍາມ່ວນ, ไทย: คำม่วน, อังกฤษ: Khammouan) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและเวียดนาม มีเมืองท่าแขกเป็นเมืองเอกของแขวง ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของแขวง รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนกลาง เป็นแขวงที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาก ชื่งเป็นที่ตั้งของNam Theun 2 Damและเปันแขวงท่าสำคัญของการเดีนทางของประเทศลาว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 (11/11/2011) ได้มีพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน อย่างเป็นทางการ ซึ่งสะพานนี้เป็นเส้นทางเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก จากไทยสู่เวียดนาม และไปยังนครหนานหนิงของจีนที่มีระยะทางใกล้ที่สุด ตามเส้นทางหมายเลข 8 และหมายเลข 12 นอกจากนั้นโครงการรถไฟความเรวสูงลาว-จีน อีกเฟสหนื่งจากนครหลวงเวียงจันทน์ ลงมาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ไปยังเวียดนามในอนาคต ปลายทางอีกด้านหนึ่งคือ ท่าเรือหวุงอ๋าง (Vũng Áng) จื่งทำให้แขวงคำม่วนกลายเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งของลาว และเป็นที่น่าจับตามองของนักธุรกิจต่างชาติ ชื่งรัฐบาลลาวได้ประกาศจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษท่าแขกดแดนคำ และเขตภูเขียว ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน
วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย-ลาว 2555
นายวิชุกร กุหลาบศรี ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งวประเทศไทย สำนักงานนครพนม ขอเชิญนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป มาเที่ยวที่นครพนม ในช่วงสงกรานต์ปี 2555 นี้ โดยในปีนี้นั้น ท่าน ผอ.ททท.นครพนม กล่าวว่า มีการจัดงานตั้งแต่วันที่ 11 - 15 เมษายน เลยทีเดียว ซึ่ง วันที่ 11-13 พบกับการจัดงานสงกรานต์แบบชาวผู้ไท เรณูนคร พบและสัมผัสกับการแสดง ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทย การแสดงวิถีชีวิต ชนเผ่า การละเล่น ของชาวผู้ไท การประกวด สาวงามเมืองเว เรณูนคร และกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย
สำหรับ ในตัวเมืองนครพนม นั้น กิจกรรม ต่างๆ จะเริ่ม ในวันที่ 13-15 เมษายน 2555 ซึ่ง ในปีนี้ในงาน จะได้พบกับ การจัดกิจกรรม ตลาดวันวาน ท่าน้ำเมืองนคร บริเวณ สนง.ป่าไม้ จ.นครพนม ชมการ แสดง การละเล่น แบบยุค Sixty , Seventy ฟังเพลง สบายๆ แต่งกายย้อนยุค แซบสนุก กับการเล่นน้ำสงกรานต์...สนุกสนานกับวงดนตรี หลากหลายสไตล์ ...และยังมีกิจกรรมการประกวดซุ้มน้ำของชุมชนต่างๆ ในเมืองนครพนม การแข่งขันกินข้าวปุ้น และในวันที่ 14-15 เมษายนนี้ ก็ ขอเชิญ ทุกท่าน ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสองแผ่นดิย ซึ่ง ในวันที่ 14 จะนำกองผ้าป่าทอดถวาย ณ วัดพระธาตุศรีโคตรบอง สปป.ลาว วันที่ 15 เมษายน 2555 ร่วมทอดผ้าป่ามหากุศล ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร
นอกจากสงกรานต์ ที่ ในเมืองนครพนม ถนนข้าวปุ้น เรณูนคร และความม่วนซื่น ของทุกๆ อำเภอแล้ว ในช่วงสงกรานต์ นี้ ยังขอเชิญ ทุกท่านเที่ยวให้ แซบ@สนุก สุขใจกันที่ หาดแห่ อ.ธาตุพนม นมัสการพระธาตุประจำวันเกิด 7 พระธาตุ ขอพรเนื่องในโอกาศ ปีใหม่ไทย และ นมัสการ รอยพระบาท เวิน ปลาที่ บ้านรเวินพระบาท อ.เมืองนครพนม ใก้ๆ กับสพานมิตรภาพ 2 นครพนม -คำม่วน รายละเอียดเพิ่มเติม ททท.นครพนม 042 513490-1
http://www.tatsanuk.blogspot.com/
\
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม
www.tatsanuk.blogspot.com 042513490-1
งานเทศกาล สงกรานต์ นครพนม
รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย – ลาว ประจำปี 2555
กิจกรรม
วันที่ 13-15 เมษายน 2555 : กิจกรรม “ตลาดวันวานท่าน้ำเมืองนคร” ชมการแสดงวิถีชีวิต วัฒนธรรมย้อนยุค Sixty – seventy ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ณ บริเวณริมแม่น้ำโขง หน้า สนง.ป่าไม้จังหวัดนครพนม อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม
วันที่ 12-13 เมษายน 2555 : กิจกรรม ถนนข้าวปุ้น สนุกสนานกับการเล่นน้ำสงกรานต์การออกร้านข้าวปุ้น(ขนมจีน) การแสดงดนตรี การประกวดซุ้มน้ำ ของขาวคุ้มต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม (ถนนสุนทรวิจิตร บริเวณ ตลาดอินโดจีน ถึง สนง.ป่าไม้ จ.นครพนม
ข้อมูลเพิ่มเติม เทศบาลเมืองนครพนม (042 511535 0 4251 6159)
วันที่ 12-14 เมษายน 2555 : กิจกรรม การแสดงถนนวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของชาวผู้ไทย อำเภอเรณูนคร สืบสานวัฒนธรรมและการละเล่นสงกรานต์วิถีชาวผู้ไทย ขบวนแห่สงกรานต์ และการประกวดสาวงามเรณูนคร (ข้อมูลเพิ่มเติม เทศบาล ตำบลเรณูนคร 0 4257 9239081 3699666
วันที่ 14-15 เมษายน 2555 : พิธีทอดผ้าป่ามหากุศลเชื่อมโยงสองแผ่นดิน ระหว่างพระธาตุพนม และพระธาตุศรีโคตรบอง แขวงคำม่วน สป.ลาว (ข้อมูลเพิ่มเติม สนจ.นครพนม 042 511574 511287)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)