วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ บ้านกุดตาใก้ สายนาวัง

ประวัติ บ้านกุดตาใก้ สายนาวัง
เรียบเรียบเรียง โดย
นายสิทธิโชค  อันทราศรี
คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาสังคมศึกษ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านกุดตาไก้  ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมายาวนานกว่า ๑๘๐ ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์เป็นกบฏต่อไทย กองทัพไทยไปปราบชนะ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชดำริให้กองทัพไทย ไปกวาดต้อนเอาครอบครัวหัวเมือง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ข้ามมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อมิให้เป็นทางเสบียงอาหารแก่ญวน ชาวเมืองวังจึงถูกกวาดต้อนมาตั้งเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ ปีพ.ศ. ๒๓๘๘ เป็นปีที่เจ้าราชวงศ์ (กอ) ลงไปเฝ้าที่กรุงเทพ ฯ และได้รับพระราชทานตราตั้งให้เป็นพระธิเบศวงษา เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คนแรก หรือ อ.เขาวงในปัจจุบัน (นายนรเก โทธิเบศร์วงษา, 2519 : 32)

เมืองกุดสิมนารายณ์ปกครองกันต่อมา ปรากฏมีดินแตกระแหงที่ท้ายเมือง กว้างเท่าฟองไข่เป็ด ลึกกว่าด้ายหลอดหนึ่งผูกลูกตุ้มหย่อนลงไปไม่ถึงก้น เห็นไม่เป็นศิริมงคลผู้คนจึงอพยพแยกย้ายเมืองไปตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ (นายนรเก โทธิเบศร์วงษา, 2519 : 32) ผู้คนที่มาตั้งบ้านกุดตาไก้ คือ “นายกวานบ้าน” (ไม่ทราบชื่อที่แน่ชัด) โดยตั้งบ้านครั้งแรกอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ปัจจุบันบ้านกุดตาไก้พัฒนา หมู่ ๗ ต่อมาหมู่บ้านเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงจึงทำให้ชาวบ้านต้องย้ายไปทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นคุ้มบ้านน้อย หรือ บ้านกุดตาไก้ หมู่ ๔ ในปัจจุบัน (นายอำนาจ วิลาศรี, 2558 : สัมภาษณ์) บ้านกุดตาไก้เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองใหญ่สองเมืองในสมัยอดีต คือเมืองภูแล่นช้าง และเมืองกุดสิมนารายณ์ ซึ่งมีหนองน้ำกุดแฮ่เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเมืองทั้งสอง ดังนั้นบ้านกุดตาไก้จึงต้องต้อนรับเจ้าเมืองทั้งสองฝั่งเป็นประจำทุกปีในสมัยอดีต โดยใช้ผ้าทอ หรือ ผ้าคราม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นของกำนัลมอบให้แก่เจ้าเมืองทั้งสองฝั่ง ต่อมาเจ้าเมืองภูแล่นช้างได้อัญเชิญ เจ้าปู่ตารำภมรมาสถิตอยู่ ณ กุดตาไก้เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านกุดตาไก้ จึงขึ้นกับเจ้าเมืองภูแล่นช้างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (นายเขียน คะโยธา, 2558 : สัมภาษณ์)
บ้านกุดตาไก้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ หนองน้ำใกล้หมู่บ้าน (หรือกุดแฮ่ในปัจจุบัน) มีสัตว์ขนาดเล็กชื่อ ไก้มีรูปร่างเล็กคล้ายกระจง ผู้คนมักล่ามาเป็นอาหาร จนในปัจจุบันสูญพันธุ์ไป หมู่บ้านนี้จึงได้ชื่อว่า กุดตาไก้ ต่อมาศูนย์พัฒนาการเคลื่อนที่มาเปลี่ยนชื่อเป็น กุดตาใกล้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕  ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านกุดตาไก้ รณรงค์ให้อนุรักษ์ชื่อหมู่บ้านไว้ให้เป็นดั่งเดิม ชาวบ้านจึงนำชื่อหมู่บ้านกลับมาใช้เหมือนเดิมจากที่เคยเปลี่ยนโดยศูนย์พัฒนาการเคลื่อนที่ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐  (นายอำนาจ วิลาศรี, 2558 : สัมภาษณ์)  


ลักษณะภูมิประเทศ เดิมบ้านกุดตาไก้มีพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม เช่น นกกา เก้ง ไก้ ค้างคาว ฯลฯ อาศัยอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของพันธุ์พืชนานาชนิด เป็นแหล่งอาหาร  และสมุนไพรพื้นบ้านของคนในชุมชน ต่อมาชุมชนมีการขยายตัว เกิดความต้องการทั้งพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย พื้นที่สำหรับการเกษตร ตลอดจนมีการแผ้วถางทำลายต้นไม้ใหญ่น้อย สำหรับสร้างบ้านเรือน ปันจุบันบ้านกุดตาไก้ เป็นพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นที่นาดอน ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ในเขตพื้นที่ บ้านกุดตาไก้  ใช้ที่ดินสำหรับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ ร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่ทั้งหมด  ที่เหลือจะเป็นที่อยู่อาศัยและที่สาธารณะ การใช้ประโยชน์ของที่ดินยังใช้ไม่ได้เต็มที่เนื่องจากดินส่วนมากจะเป็นดินร่วนปนทราย     และยังขาดแคลนน้ำ ในการทำการเกษตร (นายอำนาจ วิลาศรี, 2558 : สัมภาษณ์)  

ที่ตั้ง
ทิศเหนือติดกับ บ้านนากระเดา ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์                                              
ทิศใต้ติดกับ บ้านหนองห้าง ต.โนนนาจาน อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์                                                          
ทิศตะวันออกติดกับ บ้านส้มป่อย ต.สระพังทอง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์                                                       
ทิศตะวันตกติดกับ บ้านจาน ต.โนนนาจาน อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์

-จักรยานคันแรกเป็นของ นายคำภา  คะโยธา เมื่อปี พ.ศ.2509
          -มอเตอร์ไซค์คันแรกเป็นของ นายพรหมมา  กุดตระแสง เมื่อปี พ.ศ.2509
          -รถยนต์คันแรกเป็นของ นายสว่าง เมื่อปี พ.ศ. 2510
          -ใบยาสูบถูกนำเข้ามาปลูกในหมู่บ้านครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511
          -ปุ๋ยเคมีเข้ามาหมู่บ้านกุดตาไก้ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดย โดยหน่วยพัฒนาการทหารเคลื่อนที่
          -โรงสีของหมู่บ้านกุดตาไก้เป็นของ นายโชติ คะโยธา เมื่อปี พ.ศ. 2511
          -ร้านค้าแห่งแรกของบ้านกุดตาไก้ เป็นของ นายโชติ คะโยธา เมื่อปี พ.ศ. 2512
          -เครื่องปั่นไฟเครื่องแรกเป็นของ นายทองแดง แก้วคำภา เมื่อปี พ.ศ. 2524
          -อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาหมู่บ้านกุดตาไก้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524
          -ไฟฟ้าเข้ามาหมู่บ้านกุดตาไก้ ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ 2524
          -น้ำประปาเข้ามาหมู่บ้านกุดตาไก้ ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2524
          -ทีวีเครื่องแรกของหมู่บ้านกุดตาไก้ เป็นของ นายธีระวัฒน์ บุษมงคค เมื่อปี พ.ศ.2525
          -บ้านกุดตาไก้ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านกุดตาใกล้ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยศูนย์พัฒนาการเคลื่อนที่
          -รถไถเดินตามคันแรกเป็นของ นายประชิน  วรสาร เมื่อปี พ.ศ. 2535
          -สำนักสงฆ์วิสุทธิญาณสุนทร (วัดป่า) บ้านกุดตาไก้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2535
          -ถนนลาดยางสร้างเสร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538
          -มีเมรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538
          -โทรศัพท์บ้านเข้ามาหมู่บ้านกุดตาไก้ครั้งแรก เป็นของ นายสานิตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2539
          -แท็งก์น้ำสร้างที่หมู่บ้านกุดตาไก้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540
          -ปัจจุบันเปลี่ยนคืนเป็นบ้านกุดตาไก้ เมื่อปี พ.ศ. 2550



อดีตผู้ใหญ่(กวานบ้าน) และ กำนัน(ตาแสง) ของหมู่บ้านกุดตาไก้
          1.นายสิม         (ไม่ทราบว่ามีนามสกุลหรือไม่)      เมื่อปี พ.ศ. 2457 – 2463
          2.นายบุตรดี      วรสาร                               เมื่อปี พ.ศ. 2463 – 2469
          3.นายจ่อม       วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2469 – 2475
          4.นายวงศ์        วรสาร                               เมื่อปี พ.ศ. 2475 – 2485
          5.นายวารี        วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2485 – 2487
          6.นายงอน        คะโยธา                              เมื่อปี พ.ศ. 2487 – 2503
          7.นายเกิ่ง         ศรีพะยอม                           เมื่อปี พ.ศ. 2503 – 2505
          8.นายเภา        วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2505 – 2518
          9.นายบรรจง     โวหารกล้า                           เมื่อปี พ.ศ. 2518 – 2524
          10.นายบรรจง   โวหารกล้า                           เมื่อปี พ.ศ. 2524 – 2541 กำนันคนแรกของหมู่บ้านกุดตาไก้ ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์        
11.นายอำนาจ   วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2541 – 2551 กำนันคนที่สองของหมู่บ้านกุดตาไก้ ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ กำนันยอดเยี่ยมพ.ศ. 2550
เดิมบ้านกุดตาไก้มีเพียงหมู่ที่ 4 เพียงหมู่บ้านเดียว แต่เมื่อปี พ.ศ. 2528 ได้แยกการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 โดยมีผู้ใหญ่หมู่บ้านหมู่ที่ 7 ปกครองตามลำดับดังนี้
          1.นายจอม       วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2528 – 2542
          2.นายทองแดง   แก้วคำภา                           เมื่อปี พ.ศ. 2542 - 2552
ปัจจุบันการปกครอง ประกอบด้วย บ้านกุดตาไก้ หมู่4 (บ้านน้อย) และบ้านกุดตาไก้พัฒนา หมู่ 7 โดยมีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 7 ปกครองดังนี้
          1.นายเจริญ      วิลาศรี                               เมื่อปี พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน
          2.นายเมืองมนต์  สุขพันธ์                              เมื่อปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
ประชากร  หมู่ 4  ชาย...214...คน  หญิง...230...คน  รวม  444 คน   97 ครัวเรือน                          ประชากร  หมู่ 7  ชาย...221...คน  หญิง...240...คน  รวม  461 คน     112 ครัวเรือน            (ข้อมูลสถิติ พ.ศ. 2558)                                                 
บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน กุดตาไก้
ที่มา https://dna2532.wordpress.com/2011/09/07/ประวัติ บำรุง-คะโยธา
          นายบำรุง คะโยธา เกิดที่บ้านกุดตาไก้ เมื่อปี พ.ศ. 2493 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้นำรากหญ้า ท้าอธรรม ตั้งแต่กลับมาจากการเป็นกรรมกรในกรุงเทพฯ นายบำรุง  คะโยธา                  พาเกษตรกรรวมกลุ่มผู้เลี้ยงหมู ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงหมู ทดลองทำการแปรรูปหมูเป็นสินค้าในรูปแบบต่างๆ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด ต่อมานายบำรุง  คะโยธา ร่วมกับเอ็นจีโอและผู้นำเกษตรกรคนอื่นๆ พาพี่น้องเกษตรกรจัดตั้งสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน (สกยอ.) ที่ขอนแก่น                นายบำรุง คะโยธา เป็นผู้นำในการเรียกร้องและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร ขณะที่มีผู้นำอื่นๆ อาศัยเกษตรกรไต่เต้าในลักษณะ นายหน้าค้าความจนและเรียกรับเงินจากเกษตรกร  นายบำรุง คะโยธา  ไม่เคยมีพฤติกรรมไม่ดีเช่นนี้ ผู้นำเกษตรกรแตกแยกกัน กลายเป็น สกยอ.1 และ สกยอ.2 หลายคนไปสมัครเป็น สส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง บางคนอยู่ในกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร บางคนติดคุกอยู่ที่บุรีรัมย์                  นายบำรุง คะโยธา และผู้นำอีกส่วนหนึ่งพากันก่อตั้ง สมัชชาคนจนรวมเครือข่ายเกษตรกรกว่า 100 ชุมชน ชุมนุมเรียกร้องหน้าทำเนียบ 99 วัน จนถือว่าเป็นม็อบที่อยู่นานที่สุดตั้งแต่มีการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ เกษตรกร ซึ่ง มีทั้งที่ประสบผลสำเร็จ เกษตรกรได้รับสิทธิที่ดิน ได้ผ่อนเบาหนี้สิน เกิดกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร ช่วยปลดหนี้และประนอมหนี้แก่เกษตรกร
สถานที่ผู้คนอพยพมาอยู่บ้านกุดตาไก้ครั้งแรก 
ปัจจุบันอยู่ที่ข้างบ้านของนายเสวิด วิลาศรี บ้านกุดตาไก้ หมู่ที่ 7
หนองกุดแฮ่ ปัจจุบันอยู่บ้านกุดตาไก้ หมู่ที่ 4

แท็งก์น้ำบ้านกุดตาไก้ สร้างครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่บ้านกุดตาไก้ หมู่ที่ 7 ยังใช้การได้

มีเมรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันอยู่บ้านกุดตาไก้ หมู่ที่ 4

อ้างอิง
          นรเก  โทธิเบศร์วงษา. (2519). ตำนานไทย – พุไทยวัง. [ม.ป.ท: ม.ป.พ.].       
นายเขียน คะโยธา. อายุ 82 ปี. บ้านเลขที่ 51 บ้านกุดตาไก้ หมู่ 4 ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์. ผู้ให้สัมภาษณ์. นายสิทธิโชค  อันทราศรี. ผู้สัมภาษณ์. วันที่ 17 ตุลาคม 2558.
          นายบรรจง  โวหารกล้า. อายุ 78 ปี. บ้านเลขที่ 64 บ้านกุดตาไก้ หมู่ 4 ต.สายนาวัง อ.นาคู                        จ.กาฬสินธุ์. ผู้ให้สัมภาษณ์. นายสิทธิโชค  อันทราศรี. ผู้สัมภาษณ์. วันที่ 17 ตุลาคม 2558.
นายอำนาจ  วิลาศรี. อายุ 60 ปี. บ้านเลขที่ 58 บ้านกุดตาไก้ หมู่ 4 ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์. ผู้ให้สัมภาษณ์. นายสิทธิโชค  อันทราศรี. ผู้สัมภาษณ์. วันที่ 17 ตุลาคม 2558.

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เที่ยวงาน "เหยา" มาเว้าภูไทนำเดวเด้อ...



ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.sawasdeenakhonphanom.com/
ความเป็นมาของพิธีเหยา
       ผีฟ้าหรือผีแถน มีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี และเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่าผีอื่นชนิดอื่น มิได้อยู่บนต้นไม่ ภูเขา หรือพื้นดิน ชาวอีสานทุกท้องถิ่นนับถือผีฟ้ากันอย่างเคร่งครัดจริงจังชาวอีสานส่วนใหญ่มีความเชื่อศรัทธา “ผีฟ้าหรือแถน ” ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทสามารถให้ดีให้ร้ายแก่มนุษย์ สามารถดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ตลอกจนคอยเช่วยเหลือมนุษยืเมื่อยามประสบ
ความเดือดร้อนหรือประสบภัยพิบัติ เป็นต้นว่า เมื่อยามเจ็บป่วยไข้ ชาวบ้านก็จะทำพิธีเหยา หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ลำผีฟ้า โดยอัญเชิญ อ้อนวอนขอร้องให้ผีฟ้าลงมาช่วยขจัดโรคภัย ผีฟ้าที่อัญเชิญลงมานั้นว่วนใหญ่มีชื่อพ้องกับตัวละครในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น พิมพา จูมคำ ศรีธน มโนรา สีดา สินชัย อรพิม เป็นต้น เชื่อว่าขณะที่บุคคลดังกล่าวตอนยังมีชีวิตตอยู่บนโลกนั้นต้องเคยประกอบคุณงามความดี คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งสมบุญบารมีไว้มาก ดังนั้นเมื่อตายไปจึงได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ กลายเป็น “ ผีฟ้า” สามารถลงมาช่วยเหลือผู้คนบนโลกได้เช่นเคย ชาวอีสานจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผีฟ้าเป็นผีหรือเทพที่ทรงคุณธรรม เป็นทั้งผู้สร้างโลกและทำให้เกิดมนุษย์ ตลอดจนคอยช่วยเหลือมนุษย์ เมื่อยามประสบปัญหาเดือดร้อน ถือเป็นผีบรรพชนของตนเองจึงต้องศรัทธาเคารพอย่างยำเกรง

ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวผู้ไทย
                     การที่ชาวอีสานต้องอ้อนวอนอัญเชิญผีฟ้า ให้มาช่วยรักษาผู้ป่วยนั้น ด้วยเชื่อว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์ น่าจะเกิดจากการล่วงละเมิดต่อผี เรียกว่า “การผิดผี” ผีจะลงโทษให้มีอันเป็นไปต่างๆ การเหยาหรือลำผีฟ้าเป็นพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยโดยอัญเชิญผีฟ้าให้ลงมาสิงสถิตในร่างของคนทรงหรือ “นางเทียม” (ผู้หญิงที่สมมติขึ้น) เพื่อจะให้ทำนายลักษณะอาการของผู้ป่วย ประกอบพิธีกรรมรักษาและยังเป็นสื่อกลางระหว่างผีที่มากระทำให้ร้ายกับผู้ป่วยให้มีความเข้าใจต่อกันอีกด้วย
พิธีกรรมเหยาของชาวผู้ไทย จำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้
             1. การเหยาเพื่อชีวิต เป็นลักษณะการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หรือเหยาต่ออายุ ภาษาหมอเหยาเรียกว่า เหยาเพื่อเลี้ยมหิ้งเลี้ยมหอ
             
2. การเหยาเพื่อคุมผีออก เป็นการสืบทอดหมอเหยา กล่าวคือ เมื่อมีผู้ป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย เมื่อเหยาดูแล้ว ผีบอกว่าจะต้องเป็นหมอเหยารักษาจึงจะหาย ดังนั้นหมอเหยาจึงมีการเหยาคุมผีออก (เนื่องจากมีผีร้ายเข้าสิง) ถ้าผีออกผู้ป่วยก็จะลุขึ้นมาร่ายรำกับหมอเหยาด้วยจะทำให้อาการป่วยไข้นั้นหาย ผู้ที่เป็นหมอเหยาที่มาทำหน้าที่เหยาก็จะมีตำแหน่งเป็นแม่เมือง ส่วนผู้ป่วยที่หายก็จะกลายเป็นหมอเหยาต่อ ซึ่งจะมีตำแหน่งเป็นลูกเมืองต่อไป
             
3. การเหยาเพื่อเลี้ยงผี เนื่องจากในปีหนึ่งๆหมอเหยาจะไปเหยาเพื่อรักษาผู้ป่วยบ้างผรือเหยาเพื่อจุดประสงค์อื่นก็ตาม จำเป็นที่หมอเหยาจะต้องจัดงานเลี้ยงเพื่อขอบคุณผี โยจะจัดในช่วงเดือน 4 หรือเดือน 6 ของทุกๆปี แต่ถ้าในปีใดหมอเหยาไม่ได้เหยามากนักหรือว่าข้าวปลาไม่อุดมสมบูรณ์ก็จะไม่เลี้ยง หากแต่จะทำพิธีฟายน้ำเหล้า(ใช้ใบและดอกไม่มาจุ่มน้ำเหล้าและประพรมให้กระจายออกไป) แทนในการเหยาเลี้ยงผีนั้นอาจะเป็นแม่เมืองหรือลูกเมืองเป็นผู้กระทำก็ได้ โดยผู้เป็นเจ้าภาพจะเชิญแขกหรือบรรดาหมอเหยาด้วยกัน ตลอดจนญาติพี่น้องมาช่วยในการจัดงาน โดยจะ มีการเหยาอยู่ 2 วันกับ 1 คืน
            
4. การเหยาเอาฮูปเอาฮอย เป็นพิธีกรรมเหยาในงานประเพณี การเหยาเอาฮูปเอาฮอยจะทำกันในงานบุญพระเวสฯของแต่ละปี และจะทำติดต่อกัน 3 ปี เว้น 1 ปี จึงจะทำอีก พิธีเหยานี้ส่วนใหญ่ผู้ทำพิธีจะเป็นผู้ชายล้วน คำเหยาหรือกลอนจะเป็นไปในเรื่องของอวัยวะเพศและเรื่องเพศสัมพันธ์ แม้แต่การสอยก็เป็นคำลามก
วัตถุประสงค์ของพิธีเหยา
            1. เพื่อรักษาผู้ป่วย
            

2. เพื่อต่ออายุหรือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต            
3. เพื่อขอบคุณผีหรือวิญญาณที่มาช่วยรักษาผู้ป่วย            
4. เพื่อช่วยปกปักรักษาให้อยู่ดีมีสุข

อุปกรณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในพิธีเหยา
ในการเหยาของชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่มักมีองค์ประกอบ 4 ส่วนกล่าวคือ
           

 1. หมอเหยา (บางท้องถิ่นเรียกว่าหมอลำผีฟ้า)   
 2. หมอแคน           
 3. ผู้ป่วย           
 4. เครื่องคาย ซึ่งประกอบด้วย
๑. ผ้าซิ่น ๑ ผืน มีหัว มีตีน (มีเชิง ) นิยมใช้ผ้าฝ้าน ๑ วา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหญิง และผ้าซิ่น ๑ ผืนสำหรับผู้ป่วยที่เป็นชาย๒. ผ้ามน (ผ้าที่ทำให้มุมมีลักษณะโค้ง) ๑ ชิ้น
๓. แพรขาว ๑ วา
๔. เงิน ๔ บาท ๘ สตางค์
๕. กรวยดอกไม้
๖. ขันน้ำหอมใส่ขมิ้น ๓ ฝาน ๑ ขัน
๗. ไข่ไก่ดิบสำหรับเสี่ยงทาย ๑ ฟอง
๘. เหล้า ๑ ขวด (ให้เรียกว่าน้ำหอม)
๙. ข้าวเหนียวสุก ๑ ก้อน
๑๐. ข้าวสารสำหรับวางไข่ ประมาณ ๑ ขัน หรือ ๑ ถ้วย
๑๑. ขัน ๕ ขัน ๘
๑๒. บุหรี่ 4 มวน
๑๓. คำหมก ๔ คำ

๑๔. เทียนไข ๙ คู่และ ๖ คู่ รวมเป็น ๑๕ คู่
๑๕. ดอกไม้ ๕ คู่ กับ ๓ คู่ รวมเป็น ๘ คู่ (ใช้เฉพาะดอกไม้ขาว)
๑๖. ผมของใครก็ได้ขนาดเท่ากับนิ้วก้อย (ประมาณ 1 ปอย)
๑๗. หวีและกระจก
             เครื่องคายดังกล่าวจะต้องวางไว้ใน “ถาดเครื่องเซ่น”
 เมื่อกระทำพิธีเสร็จจะยกเครื่องคายทั้งหมดขึ้นไว้บนหิ้งเป็นเวลา 
๑ คืน จึงยกลงมาได้ ส่วนน้ำขมิ้นนั้นจะให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อรักษาโรค

กระบวนการพิธีเหยา
             เมื่อเตรียมเครื่องคายเรียบร้อยแล้วหมอเหยาที่ทำพิธี(ครูบา) จะเริ่มกล่าวคำไหว้ครู และเสี่ยงทายอธิฐานว่าผู้ป่วยจะมีกาสหายป่วยได้หรือไม่ โดยการนำเอาขมิ้นฝานลงในน้ำ ๗ ฝาน ถ้าขมิ้นทั้ง ๗ ฝานอยู่รวมกัน แสดงว่าผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายได้ ถ้าขมิ้นไม่รวมกันก็แสดงเห็นว่า อาจรักษาให้หายได้ค่อนข้างยากหลังจากทำพิธีเสี่ยงแล้ว จะมีครูบา (หมอเหยา) คนเก่าซึ่งตายไปแล้วกลับกลายเป็นผีฟ้ามาสิงร่างครูบาซึ่งจะเป็นหมอเหยาทำให้หมอเหยาพูด
: พูดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผีบรรพชนอยากได้ของบังสุกุล หรือเป็นเพราะผู้ป่วยขายควายขายนา โดยมิได้บอกกล่าวผีบรรพชน หรือคนในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นต้น 

   ผู้ที่นั้นอยู่รอบข้างจะคอยฟังและจดบันทึกไว้ ถ้าเป็นจริงตามที่หมอเหยาพูดญาติของผู้ป่วยจะพากันกล่าวยอมรับและจะปฏิบัติตามที่ต้องการ ถ้าในกรณีที่ครูบาเก่าของผู้ป่วย(ผู้ป่วยเคยมีครูบามาแล้ว และครูบาผู้นั้นตายจึงได้เข้ามาเป็นลูกน้องของครูบาใหม่) 
ต้องการเครื่องบริขาร ผู้ป่วยจะต้องทำพิธีลำส่ง โดยการนำเครื่องเก้า และกระทงเก้าห้องมาเซ่นสังเวย และกระทำ
พิธีลำส่ง ซึ่งหมายถึง ส่งสิ่งของให้แก่ครูบาเก่าที่ตายไปแล้ว ในการทำพิธีนี้ผู้ป่วยแต่ละรายคงไม่จำเป็นต้องทำทุกคน เพราบางรายป่วยเนื่องจากสาเหตุอื่น 

มิได้ป่วยเพราะมีครูบาเก่ามาอยากได้เครื่องบริขาร(เครื่องใช้สอย) ดังกล่าวแล้ว
               
ในกรณีที่ครูบาไหว้ครูทำพิธีเสี่ยง จนกระทั้งครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ครูบาผู้ทำพิธีจะไม่รู้สึกตัว จากนั้นจะลุกขึ้นฟ้อนรำไปเรื่อยๆเมื่อเริ่มลุกขึ้น ครูบาจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชาย) ถ้าผู้ป่วยเป็นหญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้ายโดยสวมทับผ้านุ่มเดิม ซึ่งเตียมวางไว้ใกล้กับเครื่องคายและผู้ทำหน้าที่สวมให้จะต้องเป็นผู้อาวุโสในกลุ่ม
               เมื่อครูบาเริ่มฟ้อนรำ หมอแคนก็จะเป่าแคน จนได้เวลาอันสมควร ชาวคณะที่เป็นกลุ่มอาวุโสก็จะทำหน้าที่ของตนเป็นต้นว่า บางคนขี่ม้าก้านกล้วย ยิงปืนไปด้วย บางคนฟ้อนรำโดยเดินไปรอบๆกระทงเก้าห้องที่วางไว้ตรงกลางห้องพิธี จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะนำเครื่องบริขารไปส่งญาติของผู้ป่วยผู้ชายจะทำหน้าที่ถือกระทง ส่วนผู้หญิงจะทำหน้าที่หาบตะกร้า ซึ่งมีเครื่องเก้าอยู่ในนั้น จากนั้นจึงเริ่มลงจากบ้าน โดยให้ผู้ที่ขี่ม้าก้านกล้วยออกเดินหน้า พร้อมกับยิงปืนไปตลอดทาง ติดตามด้วยผู้ยกกระทง สำหรับผู้หาบจะต้องเดินอยู่หลังสุด เมื่อขบวนไปส่งเดินลงจากบ้าน ครูบาจะทำพิธีโดยใช้ช้าง
(เหล้า) หยดลงพื้น ๓ หยด แล้วใช้มีดขีดเส้น ๑ เส้น พิธีนี้ทำที่หน้าบันได เพราะถือว่าเป็นการขีดครั่นไม่ให้ครูบาเก่ากลับคืนมาทวงสิ่งของอีก
                
สำหรับกระทงและเครื่องคาย จะต้องวางไว้ให้ห่างหมู่บ้านออกไปตามทิศทางที่ครูบาจะเป็นผู้กำหนดให้วาง จากนั้นผู้ทำหน้าที่ต่างๆจะต้องเดินทางกลับบ้านโดยไม่หยิบ ถือ หรือ หาบสิ่งของใดมาเลย จะมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน หาบตะกร้ากลับคืนมา คงเหลือไว้แต่กระทงและอุปกรณ์อื่นเป็นอันเสร็จพิธีลำส่ง

พิธีขึ้นลำปัว (รักษา)

                 เมื่อทำพิธีลำส่งเสร็จ ผู้ป่วยจะถือขัน ภายในมีดอกไม้ ๑ คู่ ผู้ป่วยจะยกขันดอกไม้แล้วมาคุกเข่ากราบต่อหน้าครูบา ผู้เป็นครูบาจะจับที่ขัน แล้วกล่าวคำอวยพรให้หายเร็วๆ ชาวคณะทุกคนก็ต้องทำเช่นกัน
                 
เมื่อเสร็จพิธีขึ้นขันแล้ว หมอแคนก็จะเป่าอีก ในการเป่าแคนนั้นผู้เป่าจะสามารถทายทักได้ว่าผู้ป่วยจะมีโอกาสหายยากหรือง่าย โยสังเกตจากการเป่าโดยสังเกตว่าเสียงแจ่มใสหรือแหบพร่าเบาไป เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวคณะทุกคนต้องลุกขึ้นฟ้อนรำ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก ถ้าลุกได้จะลุกขึ้นมาฟ้อนรำด้วย การฟ้อนรำไม่กำหนดเวลาขึ้นกับผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยต้องการเลิกก็ต้องเลิก ก่อนเลิกพิธีครูบาพร้อมชาวคณะจะไปกราบที่เครื่องคาย ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นครูบาจะนำเครื่องคายทั้งหมดไปเก็บบนหิ้ง
                 
สำหรับสถานที่เหยานั้น ชาวผู้ไทใช้สถานที่แตกต่างกัน เป็นต้นว่า การเหยาเพื่อชีวิต เช่นเหยาผู้ป่วย เหยาต่ออายุ และเหยาคุมผีออก นั้นจะทำในบ้านของผู้ป่วย ถ้าการเหยาเลี้ยงผีนั้นจะทำที่บ้านเจ้าภาพ ซึ่งอาจเป็นบ้านของแม่เมืองหรือลูกเมืองคนใดคนหนึ่งก็ได้
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.sawasdeenakhonphanom.com/

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โส้รำลึก ครั้งที่ 35 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2559

ขอเชิญท่องเที่ยวสัมผัสวิถีอีสาน วิถีชนเผ่าไทยโส้ ที่ สกลนคร
แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมเผ่าไทโส้ใน "งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 35" ระหว่างวันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2559 ณ บริเวณสนามหน้าศูนย์วัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร พบกิจกรรมมากมายภายในงาน อาทิ พิธีบวงสรวงพระอรัญอาสา ขบวนแห่เจ้าเมืองเผ่าไทโส้ การประกวดธิดาไทโส้ ชมการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ ของเผ่าไทโส้กุสุมาลย์ และจากแขวงคำม่วน ประเทศลาว และการแสดงอีกมากมาย

By อัครเดชา ฮวดคันทะ