วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ททท.นครพนม ร่วมงานรวมใจไทแสก 2556

12 กุมภาพันธ์ 2556
นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครพนม พร้อมด้วย นางธนพร พูลเพิ่ม ผช.ผอ.ททท.นครพนม ร่วมงาน"รวมใจไทแสก" ณ ศาลองค์มู้ บ้านอาจสามารถ อ.เมืองนครพนม
ผอ.ททท.นครพนมกล่าวว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมเพิื่อส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งชน  เผ่าแสก เป็นชนเผ่าหนึ่งของจังหวัดนครพนม และมีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดง แสกเต้นสาก เป็นการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษของชาวแสกในจังหวัดนครพนม และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ได้ช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
การแสดงแสกเต้นสากจะไม่แสดงบ่อยนัก ตามประเพณีชาวแสกจะแสดงการเต้นสากในวันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับประเพณี “กิน เตรท” หรือ “วันตรุษญวน” ในวันนี้ ชาวแสกทั้งหมดจะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวปลาอาหารไปพร้อมกันที่ศาลเจ้าที่ชาวแสกเรียกว่า “ศาลองมู่” ซึ่ง “องมู่” นี้ เป็นบรรพบุรุษที่ชาวแสกเคารพนับถือมาก จะทำกิจกรรมใดก็มักจะไปบนบานศาลกล่าวเสมอและว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก



ททท.ร่วมประชาสัมพันธ์

อบจ.นครพนม สนับสนุนการจัดงานฯ โดยนายกสมชอบ นิติพจน์ นายก อบจ.นครพนม
ชาวแสก จะนำดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวปลาอาหาร หัวหมู เหล้าขาว น้ำอัดลม และอื่นๆ  ไปพร้อมกันที่ “ศาลองมู่” ที่ชาวแสกเคารพนับถือ เมื่อทำพิธีถวายอาหารเครื่องดื่มแล้วก็จะมีประเพณีแสกเต้นสาก โดยก่อนที่จะมีการแสดงนั้นจะมีการเสี่ยงทาย และจากนั้นจะเป็นการแสดงโดยให้ชาวแสกชายหญิงประมาณ 10 คู่ ออกมาเต้นสาก เป็นการบวงสรวงองมู่ด้วย
เมื่อชาวแสกนำข้าวปลาอาหารทยอยกันไปที่ “ศาลองมู่” ศาลนี้จะตั้งอยู่ทางตะวันออกติดริมฝั่งโขง ลักษณะเหมือนศาลพระภูมิทั่วๆ ไป มีไฟประดับให้สวยงามในวันงาน รอบๆ ศาลจะมีไม้ทำเป็นดาบทาสีอยู่รอบศาล สันนิษฐานว่า แสดงถึงความสามารถในด้านการต่อสู้ ซึ่งสามารถนำประชาชนพรรคพวกของตนมาหาชัยภูมิอันเหมาะสมได้ หลังจากนั้นก็จะมีพิธีบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรา ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
เครื่องถวายได้แก่ เหล้า อาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน หากชาวแสกจะจัดพิธีใดขึ้นต้องบอกกล่าวแก่องมู่ก่อน เชื่อกันว่าหากไม่บอกกล่าวให้องมู่ทราบก่อน ชาวแสกผู้นั้นจะต้องมีอันเป็นไป พอชาวแสกมาพร้อมกันแล้ว “หมอเยา” หรือ “หมอเหยา” จะทำพิธีบวงสรวงโดยการจุดธูปเทียน เทเหล้าใส่จอก และเชิญ “องมู่” มารับของที่นำมาบวงสรวงเป็นภาษาแสก ต่อจากนั้นก็เป็นพิธีโยนเหรียญ ซึ่งลักษณะเหรียญจะเป็นเหรียญแบบโบราณหรือสตางค์แดงทาสีขาวด้านเดียว จำนวนสองเหรียญ หมอเทยา หรือหมอเยา จะโยนเหรียญแบบโบราณหรือสตางค์แดงขึ้น เพื่อเสียงทายว่าที่จัดพิธีในวันนี้ขึ้น ขออนุญาตถ่ายรูปจะได้ไหม และพอใจกับการกระทำนี้ไหม แล้วก็โยนเหรียญลงกับพื้น หากเหรียญตกลงหงายด้านเดียวกัน สีขาวเหมือนกันหรือดำเหมือนกันแสดงว่าไม่พอใจ ถ้าหากเหรียญสองเหรียญต่างกัน แสดงว่าอนุญาตหรือพอใจ ถ้าหากเหรียญเหมือนกันคือไม่พอใจ ต้องทำพิธีใหม่และเสี่ยงทายกันอีกครั้งจนกว่าจะพอใจ
การแสดงเต้นสากของชาวแสก หลังจากเสร็จพิธีบวงสรวงองมู่แล้ว ชาวแสกก็จะนำสากตำข้าว (สมัยโบราณ) ลักษณะคอดตรงกลาง ปัจจุบันเป็นแบบตรง วางบนไม้แท่นแล้วกระทบกันให้เป็นจังหวะที่ไม้กางออกซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 10-20 คู่ มาเต้นบวงสรวง การแสดงเต้นสากนี้จะเผยแพร่ให้ผู้อื่นที่มิใช่ชาวแสกไม่ได้เด็ดขาด หากผู้ใดสนใจและศึกษาค้นคว้า ก็ต้องขออนุญาตจากองมู่ก่อน
การแสดงเต้นสากโชว์ หรือ พิธีสำคัญๆ ชาวแสกจะแต่งกาย ดังนี้
-เสื้อ แขนกระบอกสีดำ
-ผ้าถุงผ้าซิ้น ผ้าถุงยาวกรอมเท้า
-ผ้าคาดเอวหรือเข็มขัด ทำด้วยผ้าตีนจก
สไบสีแดงทับ
-เครื่องประดับเท่าที่หาได้
-เครื่องดนตรีประกอบการละเล่น เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ แคน สร้างความม่วนซื่นโฮแซวให้กับผู้คน ที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก
ชาวแสกเตรียมเครื่องไหว้ องมู้
การแสดงแสกเต้นสาก
สาวน้อยหนุ่มน้อย เรียงร้อยใจ ถวายองมู้
น้องสาวคนไทแสกร่ายรำตามฉบับไทแสก

รวมใจไทแสก
ชาวบ้านต่างกูลีกูจอ รอดูการแสดง
นางรำ แสกเต้นสาก
ตุ้ม ตุ้ม โป๊ะ  จังหวะจ๊ะ โจ๊ะๆ เต้นรำ



เก็บภาพบรรยากาศโดยรวมมาฝากครับ...
สื่อมวลขน น้อยๆ ครับ
ม.นครพนม โดย อ.มาโนช สุวรรณสาร สนับสนุนการแสดง รำตังหวาย

สจ.หนุ่ย คนสวย ถ่ายภาพ ร่วมกับไทแสก
ตากล้อง/สื่อมวลชน ทั่วสารทิศ นำโดย พี่เล็ก ในนครพนม.Blogspot.com

อัครเดชา ฮวดคันทะ ททท.นครพนม รายงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น